This is default featured slide 1 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam. blogger theme by BTemplates4u.com.

This is default featured slide 2 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam. blogger theme by BTemplates4u.com.

This is default featured slide 3 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam. blogger theme by BTemplates4u.com.

This is default featured slide 4 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam. blogger theme by BTemplates4u.com.

This is default featured slide 5 title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam. blogger theme by BTemplates4u.com.

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ไวรัสคืออะไร ?



ไวรัสคืออะไร ?

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือเรียกสั้นว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆมีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว

ไวรัสคอมพิวเตอร์ ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ

ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้ ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่นๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์

ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน "ไวรัสคอมพิวเตอร์" ถูกนำมาใช้ในความหมายของ "มาลแวร์" กันอย่างกว้างขวาง (ในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน) ซึ่งนอกจากจะหมายถึงไวรัสคอมพิวเตอร์ในรูปแบบก่อนๆ แล้วนั้น ยังรวมไปถึง (หรืออาจประกอบมาจากส่วนประกอบที่กล่าวถึงข้างล่างนี้)

- หนอนอินเทอร์เน็ต (Internet Worm) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อี-เมล์ หรือ การแชร์ไฟล์ ทำให้การแพร่กระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง

- โทรจัน (Trojan) ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้แฝงเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้อื่นในหลากหลายรูปแบบ เช่น โปรแกรม หรือ การ์ดอวยพร เป็นต้น เพื่อดักจับ ติดตาม หรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกคุกคาม

- โค้ด Exploit ซึ่งหมายถึงโปรแกรมที่ออกแบบมาให้สามารถเจาะระบบโดยอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชันที่ทำงานอยู่บนระบบ เพื่อให้ไวรัสหรือผู้บุกรุกสามารถครอบครอง ควบคุม หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดบนระบบได้

- ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax) ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบของการส่งข้อความต่อๆ กันไป เหมือนกับการส่งจดหมายลูกโซ่ โดยข้อความประเภทนี้จะใช้หลักจิตวิทยา ทำให้ข่าวสารนั้นน่าเชื่อถือ ถ้าผู้ที่ได้รับข้อความปฏิบัติตามอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การให้ลบไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการโดยหลอกว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบปฏิบัติการทำงานผิดปกติ เป็นต้น

หมายเหตุ: เมื่อกล่าวถึง hoax จึงขอนำเสนอความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของ hoax อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ไวรัสคอมพิวเตอร์ แต่เป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่พบเห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน นั่นคือ "Phishing" ซึ่งเป็นการปลอมแปลงอี-เมล์ (E-mail Spoofing) และทำการสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีเนื้อหาเหมือนกับเว็บไซต์ของจริงและมี Address ใกล้เคียงกับเว็บไซต์จริง เพื่อทำการหลอกลวงให้เหยื่อหรือผู้รับอี-เมล์เปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ อาทิ ข้อมูลของหมายเลขบัตรเครดิต บัญชีผู้ใช้ (Username) และ รหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ

วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การตั้งค่าความละเอียดของหน้าจอใน Window 7

การตั้งค่าความละเอียดของหน้าจอใน Window 7

1. คลิกขวาที่ว่างหน้าเดสท็อป (Desktop) เลือกที่ Screen resolution
























2. เมื่อคลิกเข้ามาแล้วก็จะเจอหน้าควบคุม ดังรูป




















3. ไปที่ช่อง Resolution สามารถเลือกขนาดจอภาพได้ตามต้องการ ค่าความละเอียดจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ในการแสดงผล (การ์ดจอ) (การปรับความละเอียดของจอภาพเยอะ จะทำให้ขนาดของตัวอักษรเล็กลง)



















4. เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จแล้วให้กด Apply และ OK เพื่อทำการยืนยัน

อัตราส่วนทั่วไปสำหรับขนาดหน้าจอที่นิยมใช้กันทั่วไป

- หน้าจอขนาด 19 นิ้ว (อัตราส่วนมาตรฐาน): 1280 x 1024 พิกเซล

- หน้าจอขนาด 20 นิ้ว (อัตราส่วนมาตรฐาน): 1600 x 1200 พิกเซล

- หน้าจอขนาด 22 นิ้ว (จอกว้าง): 1680 x 1050 พิกเซล

- หน้าจอขนาด 24 นิ้ว (จอกว้าง): 1900 x 1200 พิกเซล

เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างไม่ทำงานตามปกติ (Hang)

เครื่องคอมพิวเตอร์ค้างไม่ทำงานตามปกติ (Hang)

ให้กดปุ่ม CTRL-ALT และ DELETE  พร้อม ๆ กัน หรือการกดปุ่ม RESET ที่เครื่อง และ ลองเรียกโปรแกรมดูอีกครั้ง หากยังทำงานไม่ได้ก็ให้ลองติดตั้งโปรแกรมนั้นใหม่อีกครั้ง

เครื่องที่ทำงานในระบบปฏิบัติการ  Window XP ,Window Vista ,Window 7  นั้น ให้ลองกดปุ่ม num lock หรือ cap lock ดูว่ายังไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ หรือไม่ ถ้าไม่มีให้ลองบู๊ตเครื่องใหม่ ถ้ามีปฏิกิริยาอยู่เช่น ยังทำงานอยู่ ให้ลองกดปุ่ม ctrl + alt + del พร้อมกัน  จะปรากฏ หน้าจอดังรูป




ให้ดูว่าโปรแกรมที่เราทำงานอยู่นั้นมีประโยค (Non Response) อยู่หรือไม่ ถ้าไม่มีแสดงว่าเรื่องอาจจะทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันทำให้ทำงานช้า ให้รอสักครู่แล้วดูว่างานได้หรือไม่

ถ้าโปรแกรมที่ทำงานอยู่นั้นมีคำว่า NO Response  อยู่ให้ทำการปิดโปรแกรมนั้นโดยการกดปุ่ม End Task แล้วทำการเปิดโปรแกรมนั้นใหม่อีกครั้ง ถ้ายังไม่ได้ให้ทำการ Restart เครื่อง โดยกด Ctrl-Alt-Delte  พร้อม ๆ กันหรือ ให้การกดปุ่ม Reset  ที่ตัวเครื่อง


เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ติด ทำไงดี



เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ติด ทำไงดี

เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว แต่ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ปรากฏขึ้นมาเลยให้ผู้ใช้ลองสำรวจดังต่อไปนี้

1. ให้ลองดูที่ด้านหลังเครื่องสายไฟที่เสียบเข้ามาด้านหลังเครื่องนั้นยังคงเสียบอยู่หรือไม่  หรือว่าสายที่ เสียบอยู่หลวมหรือไม่
2. สายไฟที่เสียบเข้ากับปลั๊กไฟนั้น ได้เสียบอยู่หรือไม่
3. ในกรณีที่ใช้ปลั๊กพ่วงก็ต้องให้แน่ใจว่าฟิวล์ของปลั๊กที่พ่วงนั้นไม่ขาด
4. ตรวจดูสายไฟว่าอยู่ในสภาพที่ดี  ไม่มีรอยตัดต่อหรือรอยไหม้

เปิดเครื่องได้แต่ไม่สามารถบู๊ตเครื่องได้

การที่สามารถเปิดเครื่องได้ แต่ไม่สามารถบู๊ตเครื่องได้นั้นอาจมีสาเหตุมาจาก

1. เครื่องหา Hard Disk ไม่เจอ

ปัญหานี้มักจะพบเมื่อเครื่องมีอายุการใช้งานค่อนข้างนานหลายปีแล้วเกิดจากถ่าน (Battery)  ที่รักษาค่าของ BIOS(Basic Input  Output System) เริ่มเสื่อมสภาพ

ทางแก้ไข
ให้เข้าไปใน System BIOS เพื่อทำการตรวจดูว่ามีฮาร์ดดิสก์แบบใด (Detect Hard Disk) และบันทึกข้อมูลลงใน BIOS ก่อนที่จะทำการบู๊ตเครื่องอีกครั้งเพื่อทำงานตามปกติ (โดยทั่วไปตอนที่เปิดเครื่องขึ้นมาจะมีการให้กดปุ่ม Delete  เพื่อเข้าสู่หน้าจอของการติดตั้ง) และจะมีเมนูให้เลือกการติดตั้ง  Hard disk ( Auto Detect Hard Disk) เพื่อทำการค้นหาและติดตั้งโดยอัตโนมัติให้เลือกหัวข้อนี้และบันทึกลงไป

ตรวจเช็คก่อนทำการซ่อมแซม โดยการเปลี่ยนถ่าน BIOS ด้วยตนเอง

2. Floppy Disk Fail

เกิดได้จากสายต่อเชื่อมตัวขับดิสก์ (Disk Drive) ที่เรียกว่า (Bus) หลวม หรือเสียบไม่ถูกต้อง (กลับข้าง ซ้ายเป็นขวา การสังเกตสามารถดูได้จากแถบของบัสจะมีสีแดง ซึ่งสีแดงจะเป็นแถวที่จะอยู่ติดกับแกนของ  Power Supply  เสมอ อีกกรณีหนึ่งคืออาจจากไม่มีไฟไปที่ Floppy Disk  หรือ อาจจะเกิดจากการที่หัวอ่านสกปรก

ทางแก้ไข
โดยปกติสามารถที่จะกด Esc เพื่อผ่านเข้าไปทำงานได้เลยแต่จะทำให้ Floppy  Disk นั้นไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งบางครั้งหากมีความจำเป็นต้องเก็บใส่แผ่นก็จะมีปัญหา ฉะนั้นควรจะส่งให้ช่างผู้ชำนาญการทำการแก้ไขต่อไป 

ในกรณีของหัวอ่านสกปรกสามารถให้ดิสก์ทำความสะอากแบบเติมน้ำยาได้มาทำความสะอาด

3. มีเสียงดังปี๊บยาวๆ 1 ครั้งตอนเปิดเครื่องแล้วก็ไม่เห็นอะไรบนหน้าจอเลย

เกิดจาก VGA Card  หรือ Display card ที่เสียบอยู่ในช่องเสียบนั้นหลวม  ในกรณีเครื่องที่ VGA เป็นแบบ Onboard นั้นให้ผู้ใช้บูตเครื่องพร้อมกับกดปุ่ม Delete และทำการเข้าไป set ค่าใน Biosให้เลือกที่ VGA Onboard เป็นตัวแรกบูต

ทางแก้ไข 
ลองขยับ หรือ เสียบ VGA  Card  ใหม่

4. มีเสียบบี๊บสั้น ๆ ติดต่อกัน ตอนเปิดเครื่องและไม่เห็นอะไรอีกเลย

เกิดจาก RAM ที่เสียบอยู่ในช่องเสียบหลวม หรือ ภายในเครื่องมีความสกปรกให้ทำการ ถอด Ram ออกจาก Slot และให้นำ ยางลบ ดินสอ มาถูบริเวณ ทองแดง เพื่อทำให้หน้าสัมผัสกับทองแดงมีความสะอาดมากขึ้น

ทางแก้ไข
ดูช่องเสียบ RAM ว่าแน่นหรือไม่หากไม่แน่นให้เสียบใส่ใหม่

5.  Keyboard Fail

Keyboard  Fail  เกิดจากสายที่ใช้ในการต่อ  Keyboard  เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นหลวมหรือไม่แน่น
   
ทางแก้ไข
ทำได้โดยการลองขยับสาย  Keyboard ดูว่าจะสามารถให้การได้ หรือไม่ ถ้ายังไม่สามารถใช้การได้ ให้ลองดูที่  Keyboard  ว่ามีปฏิกิริยาใด ๆ เมื่อตอนที่  Boot เครื่องหรือไม่ถ้าไม่มีปัญหาอาจเกิดจาก Keyboard  เสีย

6. ไม่มีสัญญาณภาพที่จอมอนิเตอร์

เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ไม่มีไฟฟ้า หรือเสียบสายสัญญาณไม่แน่น

ทางแก้ไข
ให้มองดูที่หน้าจอว่ามีสัญญาณไฟเข้าหรือไม่ ถ้ามีให้ลองดูที่สายสัญญาณที่เสียบอยู่หลังหน้าจอและต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่าได้เสียบแน่นดีอยู่หรือไม่ ถ้าไม้มีสัญญาณไฟหรือว่าสายสัญญาณเสียบ ไม่แน่นให้ทำการเสียบให้แน่นและดูผลอีกครั้ง ถ้ายังไม่ได้ผลควรให้ส่งให้ช่างผู้ชำนาญทำการซ่อม

วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

blogger คืออะไร



Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)

ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น

ส่วนคำว่า blogger มีความหมายว่า "ผู้เขียนบล็อก"


blogger หมายถึง เครื่องมือเผยแพร่เว็บบล็อกฟรีจาก Google สำหรับการแชร์ข้อความ รูปภาพ และวิดีโอ ภายใน Blog หนึ่งก็จะประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ และจุดเชื่อมโยง (Link)เพื่อเชื่อมโยงไปยัง Blog อื่น Webpage อื่น และสื่อ(media)ชนิดอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องนั้นๆ ที่ Blog นำเสนออยู่

จุดเด่นของ Blog ส่วนมากก็คือ การแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ และในขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็นกลับ (Comments) ได้ด้วย ...ซึ่งลักษณะแบบนี้จะมีส่วนคล้ายกับ Webboard แต่ Blog จะแตกต่างจาก Webboard ตรงที่ เราสามารถจัดการหน้าของ Blog ได้เอง เหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ ที่จะทำการเปลี่ยนแปลงส่วนไหน เมื่อไรย่อมสามารถทำได้ โดยเครื่องมือที่บล็อกมีให้และมีรูปแบบให้ได้เลือกใช้มากมาย สามารถปรับให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เขียน ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง



ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง ภาษาใดๆ ที่ผู้ใช้งานใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ด้วยกัน แล้วคอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งนั้นได้ ภาษาคอมพิวเตอร์มีมากมายหลายพันภาษา แต่ภาษาที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้จริงนั้นมีภาษาเดียว คือ ภาษาเครื่อง ( machine language )

การจัดแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์มีการแบ่งหลายแบบ เช่น แบ่งเป็นยุคของภาษา ดังนี้

1.ภาษารุ่นที่ 1 ได้แก่
- ภาษาเครื่อง(Machine Language) ใช้อักขระเพียง 0 และ 1
- ภาษาสัญลักษณะ (Symbol Language)
- ภาษาแอสเซมบลี( Assembly Language) ที่ใช้รหัสช่วยจำ (Mnemonic Code) แทนรหัสคำสั่งที่เป็นอักขระ 0 กับ 1

การเขียนคำสั่งภาษาเครื่อง และภาษาสัญลักษณ์ จำเป็นต้องทราบขั้นตอน การทำงานภายในของตัวประมวลผลอย่างละเอียด ต้องทราบจำนวนรีจิสเตอร์ (Register) และหน้าที่ของรีจิสเตอร์ ต้องทราบถึงการอ้างถึงข้อมูลในหน่วยความจำมีวิธี และทำได้อย่างไร ภาษารุ่นนี้จึงใช้งานได้ยาก และมีความซับซ้อนในการสั่งงาน

2.ภาษารุ่นที่ 2 เป็นภาษาที่พัฒนาที่นับได้ว่าเก่าแก่ที่สุด และนับเป็นพื้นฐานในการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ด้วย โดยมีจุดอ่อน คือ เป็นภาษาที่ไม่มีโครงสร้าง ไม่สามารถกำหนดชนิดข้อมูลได้ เช่น ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN), ภาษาโคบอล (COBOL - Common Business Oriented Language), ภาษา ALGOL (Algorithm Language) และภาษายอดนิยมที่สุด คือ ภาษา BASIC (Beginner's All Purpose Symbolic Instruction Code) ซึ่งหลายภาษา ยังได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

3.ภาษารุ่นที่ 3 เป็นภาษาที่นำเอาจุดด้อยของภาษารุ่นที่ 2 มาปรับปรุงและพัฒนา โดยปรับปรุงลักษณะ โครงสร้าง ตลอดจนขีดความสามารถของภาษารุ่นที่ 2 โดยแบ่งภาษารุ่นนี้ เป็นสองลักณะ คือ ภาษาสำหรับงานทั่วไป ได้แก่ ภาษา PL/I, Pascal, Modula-2, C, Ada โดยมีพื้นฐานการพัฒนามาจากภาษา ALGOL โดยนิยมนำมาใช้ในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ ธุรกิจ ตลอดจนงานระบบต่างๆ และภาษาสำหรับงานพิเศษ อันเป็นภาษาที่จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะเจาะจง มีรูปแบบพิเศษออกไป เช่น ภาษา Lisp, Prolog, Smalltalk, APL และ FORTH เป็นต้น

4.ภาษารุ่นที่ 4 เป็นภาษาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อลดขั้นตอนการออกแบบระบบ โดยผู้ใช้ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ จากนั้นโปรแกรมก็จะใช้ความรู้ภายในตัวภาษา มาหาผลลัพธ์นั้นๆ แต่บางฟังก์ชันก็ยังต้องอาศัย การกำหนดเงื่อนไข และลำดับขั้นตอนของงานด้วย ภาษารุ่นนี้ เช่น ภาษาสอบถาม (Query Language) ซึ่งใช้ในการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูล ได้แก่ ภาษา SQL (Sturctured Query Language) นอกจากภาษาสอบถาม ยังมีภาษาแบบตัวสร้างโปรแกรม (Program Generator) ซึ่งมักจะพบในโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เช่น dBASE, FoxPro เป็นต้น
  
5.ภาษารุ่นที่ 5 เป็นภาษารุ่นใหม่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีลักษณะการทำงานเชิงวัตถุ มีระบบช่วยเหลือต่างๆ มากมาย เช่น Visual Basic, Visual FoxPro เป็นต้น

ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) กับ ภาษาระดับสูง (High Level Language) มีรายละเอียด ดังนี้

ภาษาระดับต่ำ (low  level language ) ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ แบ่งเป็น

1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาต่ำสุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียนเรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร เช่น สั่งให้ทำการบวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อบอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรก

การเขียนโปรแกรม หรือชุดคำสั่งด้วยภาษาเครื่อง นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่สะดวกและเสียเวลา เพราะผู้ใช้จะต้องทราบรหัสแทนการทำงานต่าง ๆ และต้องรู้ขั้นตอนการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเอียด ถ้าใช้คำสั่งไม่ถูกต้องเกิดการผิดพลาด โอกาสที่จะเข้าไปทำการแก้ไขก็ทำได้ยากและเสียเวลามาก มนุษย์จึงพยายามคิดภาษาให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้นด้วยการสร้างภาษาระดับต่ำในเวลาต่อมา         

2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ลักษณะของภาษานี้จะเป็นการใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนเลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เช่น จะใช้คำสั่ง ADD แทนการบวก คำสั่ง SUB แทนการลบ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ส่วนที่ใช้บอกแหล่งข้อมูลก็จะแทนด้วยชุดของตัวอักษรที่เรียกว่าตัวแปร เช่น คำสั่ง ADD A,B จะหมายถึงให้นำข้อมูลที่ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B มาบวกรวมกันแล้วนำผลลัพธ์ไปเก็บที่ตำแหน่งAเป็นต้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี ถึงแม้ว่าจะง่ายและเสียเวลาน้อยกว่าการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง แต่มีข้อเสียคือผู้ใช้จะต้องเรียนรู้โครงสร้างของระบบเครื่องนั้นอย่างละเอียด เพราะภาษาแอสแซมบลีเป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ จะใช้กับเครื่องระบบนั้น ถ้าใช้เครื่องต่างระบบที่มีตัวประมวลผลต่างกัน จะต้องเรียนรู้โครงสร้างภายในและชุดคำสั่งสำหรับเครื่องนั้นใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่สะดวก               

ภาษาระดับสูง (High-level Language) ภาษาระดับสูง การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา จึงพยายามให้เป็นภาษาที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องต่างระบบกัน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โปรแกรมที่เขียนสั่งงานกับเครื่องระบบหนึ่ง ก็สามารถนำไปใช้หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเพื่อสั่งงานกับเครื่องอีกระบบหนึ่งได้ ลักษณะของภาษาจะพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาษาในยุคหลังนี้ เรียกว่า ภาษาระดับสูง ซึ่งได้มีการคิดค้นพัฒนาออกมาหลายภาษาด้วยกัน ที่เด่น ๆ และนิยมกันมาก เช่น

ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN- FORmula TRANslator) เป็นภาษาที่เก่าแก่ของโลกเหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ใช้ในงานค้นคว้าวิจัยและวิเคราะห์ปัญหาต่างทางวิทยาศาสตร์

ภาษาโคบอล (COBOL-Common Business Oriented Language) เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานด้านธุรกิจ ที่มีข้อมูลจำนวนมากๆ หรืองานด้านการจัดการฐานข้อมูล แต่ไม่เหมาะสำหรับงานด้านคำนวณ

ภาษาเบสิก (BASIC- Beginner's All purpose Symbolic Instruction) เป็นภาที่พัฒนาขึ้นมา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และผู้เริ่มศึกษาภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาปาสคาล (PASCAL)  เป็นภาษาที่ใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรมได้ดีที่สุด เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอน

ภาษาซี (C)  เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในการเขียนโปรแกรมการทำงานขนาดใหญ่ และใช้ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ด้วย           

ข้อแตกต่างระหว่างภาษาระดับต่ำกับภาษาระดับสูง

ภาษาระดับต่ำจะมีความแตกต่างกันเมื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างเครื่องกัน ส่วนภาษาระดับสูงนั้นสามารถใช้ได้กับ คอมพิวเตอร์ต่างเครื่องกัน โดยอาจมีการปรับปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ภาษาระดับสูงมนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาระดับสูงมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนภาษาระดับต่ำอาจใช้รหัสหรือคำย่อแทนคำสั่งให้ทำงาน
ภาษาระดับต่ำจะต้องเขียนขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด จึงใช้เวลาในการเขียนโปรแกรมมากกว่า 

การเขียนโปรแกรมระดับสูง 

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับต่ำ จำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจระบบการทำงานภายในคอมพิวเตอร์ แต่การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงไม่จำเป็นต้องศึกษาอย่างลึกซึ้ง

การจัดแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์ ส่วนมากในปัจจุบันนิยมแบ่งภาษาคอมพิวเตอร์เป็น ยุค ดังนี้ 

1.ภาษาเครื่อง (Machine Language)
2.ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)
3.ภาษาชั้นสูง (High - level Language)
4.ภาษาชั้นสูงมาก (Very High - level Language)
5.ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)

ภาษาเครื่อง 

ในยุคแรกๆ การใช้คอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามต้องการนั้น ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องเขียนคำสั่งด้วยภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเรียกว่า ภาษาเครื่อง คำสั่งของภาษาเครื่องนั้นจะประกอบด้วยกลุ่มของตัวเลขในระบบเลขฐานสอง เป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้โดยตรง ลักษณะของภาษาเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ โดยเขียนอยู่ในรูปของรหัสของระบบเลขฐานสอง ประกอบด้วย เลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียนเรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไรเช่น สั่งให้ทำการบวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อ บอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรก

โครงสร้างของคำสั่งในภาษาเครื่อง 

คำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบfด้วย 2 ส่วนคือ

โอเปอเรชันโคด (Operation Code) เป็นคำสั่งที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เช่น     การบวก (Addition) การลบ (Subtraction) เป็นต้น

โอเปอแรนด์ (Operands)เป็นตัวที่ระบุตำแหน่งที่เก็บของข้อมูลที่จะเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อนำไป ปฏิบัติการตามคำสั่งในโอเปอเรชันโคด

ภาษาแอสเซมบลี   

เป็นภาษาที่มีการใช้สัญลักษณ์ข้อความ (mnemonic codes) แทนกลุ่มของเลขฐานสอง เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนและการจดจำมากกว่าภาษาเครื่อง ตัวอย่างเช่นมีการใช้สัญลักษณ์ต่อไปนี้
A ย่อมาจาก ADD หมายถึงการบวก
S ย่อมาจาก SUBTRACT หมายถึงการลบ
C ย่อมาจาก COMPLARE หมายถึงการเปรียบเทียบ
MP ย่อมาจาก MULTIPLY หมายถึงการคูณ
ST ย่อมาจาก SRORE หมายถึง การเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ เป็นต้น

ถึงแม้ว่าสัญลักษณ์เหล่านี้จะไม่ใช่คำที่มีความหมายในภาษาอังกฤษแต่ก็ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวกสะบายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องจดจำ 0 และ1 ของเลขฐานสองอีกนอกจากนี้ ภาษาแอสเซมบลียังอนุญาตให้ผู้เขียนใช้ตัวแปรที่ตั้งขึ้นมาเองในการเก็บค่าข้อมมูลใด ๆ เช่น X, Y, RATE หรือ TOTAL แทนการอ้างอิงถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลจริงๆ ภายในหน่วยความจำ

ดังได้กล่าวแล้วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะรู้จักเฉพาะภาษาเครื่องเท่านั้นดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการแปลโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อนเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมได้การแปลภาษาแอสเซมบลีเป็นภาษาเครื่องนั้นจะต้องมีตัวแปลภาษาแอสเซมบลีที่เรียกว่า แอสเซมเบลอร์ (Assembler) เป็นตัวแปล ซึ่งภาษาแอสเซมบลี 1คำสั่งจะสามารถแปลเป็นภาษาเครื่องได้ 1 คำสั่งเช่นกัน ดังนั้นเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี 10 คำสั่ง ก็จะถูกแปลเป็นภาษาเครื่อง 10 คำสั่งเช่นกันจึงเห็นได้ว่าภาษาแอสเซมบลีจะมีลักษณะที่เหมือนกับภาษาเครื่องคือ เป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับเครื่อง กล่าวคือเราไม่สามารถนำโปรแกรมที่เขียนด้วยแอสเซมบลี  โปรแกรมเดียวกันไปใช้ในเครื่องต่างชนิดกันได้และนอกจากนี้ผู้ที่จะเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีได้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีเนื่องจากจะต้องยุ่งเกี่ยวกับการใช้งานหน่วยความจำที่เป็นงานหน่วยความจำ ที่เป็นรีจิสเตอร์ภายในตลอดดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เขียนในงานที่ต้องการความเร็วในการทำงานสูง เช่น งานทางด้านกราฟิกหรืองานพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบต่าง ๆ

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าภาษานี้จะง่ายกว่าการเขียนด้วยภาษาเครื่อง แต่ก็ยังถือว่าเป็นภาษาชั้นต่ำที่ยังยากต่อการเขียนและ การเรียนรู้มากสำหรับผู้ที่ไม่ความรู้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เท่าใดนัก

ภาษาระดับสูง
สามารถเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นภาษารุ่นที่ 3 (3rd Generation Languages หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป และที่สำคัญคือผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ได้แก่ ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) เบสิก (BASIC) ปาสคาล (PASCAL) ซี (C) เอดา (ADA) อย่างไรก็ตามโปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาประเภทนี้จะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อมีการแปลงให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน ซึ่งวิธีการแปลงจากภาษาชั้นสูงให้เป็นภาษาเครื่องนั้น จะทำได้โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า คอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยภาษาชั้นสูงแต่ภาษาจะมีตัวแปลภาษาเฉพาะเป็นของตัวเอง ดังนั้นจึงไม่สามารถนำตัวแปลภาษาที่เรียกว่าคอมไพเลอร์ของภาษาหนึ่งไปใช้แปลภาษาอื่น ๆ  สำหรับความแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์และอินเตอร์พรีเตอร์จะมีดังต่อไปนี้

คอมไพเลอร์ (Compiler)
จะทำการแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องทีเดียว การแปลนี้จะเป็นการตรวจสอบไวยากรณ์ของภาษา ถ้ามีข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษาเกิดขึ้นก็จะแจ้งให้ทราบ เรียกข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ของภาษา (Syntax Error) นี้ได้ว่าเป็น ข้อความไดแอคนอสติค (Diagnostic Message) เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมทำการแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วจึงค่อยสั่งให้แปลใหม่ โปรแกรมที่ยังไม่ผ่านการแปลจะเรียกว่า ซอร์สโปรแกรม (Source Program) หรือ ซอร์สโมดูล (Source module) แต่ถ้าผ่านการแปลเรียบร้อยและไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ จะเรียกโปรแกรมส่วนนี้ว่า ออปเจกต์โปรแกรม (Object Program) หรือออปเจกต์โมดูล (Object Module)   ออปเจกต์โปรแกรมนี้ยังไม่สามารถทำงานได้ จะต้องผ่านการลิงค์ (Link) หรือรวมเข้ากับไลบรารี่ (Library)ของระบบก่อนจึงจะเป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานได้หรือเป็นภาษาเครื่องทีเรียกว่า เอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรม (Execute Program) หรือ โหลดโมดูล (Load Module) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .exe หรือ.comและสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้งานได้ตลอดโดยไม่ต้องสั่งแปลใหม่อีก แต่ถ้ามีการแก้ไขโปรแกรมแม้เพียงเล็กน้อยก็ต้องทำการแปลใหม่หมดตั้งแต่ต้น

อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
เป็นตัวแปลภาษาอีกตัวหนึ่งที่จะทำการแปลโปรแกรมภาษาชั้นสูงทีละคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องและทำการเอ็กซ์วีคิวท์หรือทำงานคำสั่งนั้นทันทีทันใดเลยก่อนที่จะไปทำการแปลต่อในบรรทัดถัดไปถ้าในระหว่างการแปลเกิดพบข้อผิดพลาดที่บรรทัดใดก็จะฟ้องให้ทำการแก้ไขทีละบรรทัดนั้นทันทีอินเตอร์พรีเตอร์นี้เมื่อโปรแกรมเสร็จแล้วจะไม่สามารถเก็บเป็นเอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรม (Execute Program) ได้ซึ่งต่างกับคอมไพเลอร์ดังนั้นเมื่อจะเรียกใช้งานหรือรันโปรแกรมก็จะต้องทำการแปลหรือคอมไพล์โปรแกรมใหม่ทุกครั้งไปดังนั้นเมื่อจะเรียกใช้งานเอ็กซ์ซีคิวท์โปรแกรมย่อมจะทำงานได้เร็วกว่าการเรียกใช้งานโปรแกรมที่ต้องผ่านการแปลด้วยอินเตอร์พรีเตอร์แต่ประโยชน์ของภาษาที่ถูกแปลด้วยอินเตอร์พรีเตอร์ คือโปรแกรมจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการพัฒนาตัวอย่างของภาษาโปแกรมที่มีการใช้อินเตอร์พรีเตอร์ เป็นตัวแปลภาษา เช่น ภาษาเบสิกสมัยเดิม (GWBASIC) (แต่ Visual Basic มีตัวแปลภาษาเป็น คอมไพเลอร์)

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาชั้นสูงนั้นนอกจากจะให้ความสะดวกแก่ผู้เขียนเป็นอันมากแล้วผู้เขียนแทบจะไม่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงาน ของระบบฮาร์ดแวร์ก็สามารถเขียนโปรแกรมสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้นอกจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือสามารถนำโปรแกรมที่เขียนนี้ ไปใช้งานบนเครื่องใดก็ได้ คือมีลักษณะที่ไม่ขึ้นอยู่กับกับเครื่อง(Hardware Indepent) เพียงแต่ต้องทำการการแปลโปรแกรมใหม่เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามภาษาเครื่องที่ได้จากการแปลภาษาชั้นสูงนี้อาจเยิ่นเย้อและไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเขียนด้วยภาษาเครื่องหรือแอสเซมบลีโดยตรง ภาษารุ่นที่ 3 นี้ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาที่มีแบบแผน (Procedural language)เนื่องจากลักษณะการเขียนโปรแกรมจะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบ กล่าวคือ งานทุกอย่างผู้เขียนโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานเองทั้งหมด และต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นตอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบฟอร์มกรอกข้อมูล การประมวลผล หรือการสร้างรายงาน ซึ่งโปรแกรมที่เขียนจะค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลาในการพัฒนาค่อนข้างยาก

ภาษาระดับสูงมาก (Very high - Level Language)  
สามารถเรียกได้อีกอย่างว่าภาษาในรุ่นที่ 4 (4GLs: Fourth Generation Languages)ภาษานี้เป็นภาษา
ที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าภาษารุ่นที่ 3 มีลักษณะของภาษาในรุ่นที่เป็นธรรมชาติคล้ายๆ กับภาษาพูดของมนุษย์จะช่วยในเรื่องของการสร้างแบบฟอร์มบนหน้าจอเพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อมูล รวมไปถึงการออกรายงาน ซึ่งจะมีการจัดการที่ง่ายมากไม่ยุ่งยากเหมือนภาษารุ่นที่ 3 ตัวอย่างของภาษาในรุ่นที่ 4 ได้แก่ Informix-4GL, Focus, Sybase,InGres เป็นต้น

ลักษณะของ 4GL มีดังต่อไปนี้

เป็นภาษาแบบ Nonprocedural ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้เพียงแต่บอกว่าต้องการอะไร แต่ไม่ต้องบอกถึงรายละเอียด ว่าต้องทำอย่างไร คอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการให้เองหมด ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการสร้างแบบฟอร์มการรับข้อมูลจาก ผู้ใช้ผู้เขียนโปรแกรมเพียงแต่ทำการออกแบบหน้าตาของแบบฟอร์มนั้นบนโปรแกรมอิดิเตอร์ (Editor) ใดๆ และเก็บ เป็นไฟล์ไว้เมื่อจะเรียกใช้งานแบบฟอร์มนั้นเพียงแต่ใช้คำสั่งเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้โดยทันทีซึ่งต่างจากภาษารุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นแบบ Proceduralผู้เขียนโปรแกรม จะต้องเขียนรายละเอียดของโปรแกรมทั้งหมดว่า ที่บรรทัดนี้คอลัมน์นี้จะให้แสดงข้อความหรือข้อมูลอะไรออกมา ซึ่งถ้าต่อไปจะมีการปรับเปลี่ยนหน้าตาของแบบฟอร์ม ก็จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างยิ่ง หรือในการสร้างรายงานด้วย 4GLs ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายเพียงแต่ระบุลงไปว่าต้องการรายงานอะไร มีข้อมูลใดที่จะนำมาแสดงบ้าง โดยไม่ต้องบอกถึงวิธีการสร้าง หรือการดึงข้อมูลแต่อย่างใด 4GLsจะจัดการให้เองหมด

ส่วนใหญ่จะพบว่า 4GLs มักจะอยู่ควบคู่กับระบบฐานข้อมูล โดยผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลจะสามารถจัดการฐานข้อมูล ได้โดยผ่านทาง 4GLs นี้

ส่วนประกอบของภาษา 4GLs
โดยทั่วไปแล้ว 4GLs จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังต่อไปนี้
เครื่องช่วยสร้างรายงาน (Report Generators)หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่า เครื่องมือช่วยเขียนรายงาน (Report Writer) เป็นโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ (end - users) ให้สามารถสร้างรายงานอย่างง่ายได้ด้วยตนเอง โดยผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขและข้อมูลที่จะออกมาพิมพ์ในรายงาน
รวมไปถึงรูปแบบ (format) ของการพิมพ์ไว้ โปรแกรมช่วยสร้างรายงานนี้จะทำการพิมพ์รายงานตามรูปแบบที่เรากำหนดไว้ให้

ภาษาช่วยค้นหาข้อมูล (Query Languages) เป็นภาษาที่ช่วยในการค้นหาหรือดึงข้อมูลจากฐานข้อมูล ภาษานี้จะง่ายต่อการใช้งานมาก เนื่องจากจะอยู่ในรูปแบบที่ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมาก ตัวอย่างของภาษาช่วยค้นหาข้อมูลนี้ได้แก่ ภาษา SQL (Structured Query Language)ภาษา QBE (Query - By - Example) และ Intellect เป็นต้น

เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรม (Application Generators) 4GLs จะมีรูปแบบการเขียนโปรแกรมเฉพาะตัว และสามารถเรียกใช้เครื่องมือช่วยสร้างโปรแกรมนี้ทำการแปลง 4GLs ให้กลายเป็นโปรกรมในภาษารุ่นที่ 3 ได้ เช่น ภาษาโคบอล หรือ ภาษาซี เป็นต้น ซึ่งอาจนำภาษาโคบอล หรือซีที่แปลงได้
ไปพัฒนาต่อเพื่อใช้กับงานที่มีความซับซ้อนมากๆ ต่อไปได้

ประโยชน์ของ 4GL
เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ คำสั่งแต่ละคำสั่งสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ดังนั้นจึงสามารถใช้เวลาในการศึกษาสั้นกว่าภาษารุ่นที่ 3 ประหยัดเวลาในการเขียนโปรแกรมได้มาก เนื่องจาก 1 คำสั่งของ 4GL ถ้าต้องเขียนด้วยภาษารุ่นที่ 3 อาจต้องเขียนถึง 100 กว่าคำสั่งในการทำงานแบบเดียวกัน สนับสนุนระบบจัดการฐานข้อมูล ทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว สามารถสร้างแบบฟอร์มเพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล และออกรายงานได้อย่างง่ายดาย ไม่ยุ่งยาก มีเครื่องมือการใช้งานเพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมมากพอสมควร สามารถทำงานได้ในลักษณะ Interactive คือมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที

ภาษาธรรมชาติ
เป็นภาษาในยุคที่ 5 ที่มีรูปแบบเป็นแบบ Nonprocedural เช่นเดียวกับภาษารุ่นที่ 4 การที่เรียกว่า ภาษาธรรมชาติ เพราะจะสามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้ภาษามนุษย์โดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปคำสั่งที่มนุษย์ป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์จะอยู่ในรูปของภาษาพูดมนุษย์ ซึ่งอาจมีรูปแบบที่ไม่แน่นอนตายตัว แต่คอมพิวเตอร์ก็สามารถแปลคำสั่ง เหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ถ้าตั้งคำถามใดไม่กระจ่างก็จะมีการถามกลับเพื่อให้เข้าใจคำถามได้อย่างถูกต้อง

ภาษาธรรมชาตินี้ ถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีทางด้านระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) ซึ่งเป็นงานที่อยู่ในสาขาปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence) ในการที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนกับเป็นผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งที่สามารถคิดและตัดสินใจได้เช่นเดียวกับมนุษย์ คอมพิวเตอร์สามารถตอบคำถามของมนุษย์ได้อย่างถูกต้องพร้อมทั้งมีข้อแนะนำต่างๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของมนุษย์ได้อีกด้วย ระบบผู้เชี่ยวชาญนี้จะใช้กับงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเช่น ในการแพทย์ ในการพยากรณ์อากาศ ในการวิเคราะห์ทางเคมี การลงทุน ฯลฯ ซึ่งในการนี้จะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมหาศาลและให้ผู้ใช้สามารถใช้ภาษาธรรมชาติในการดึงข้อมูลจากฐานความรู้นี้ได้ ดังนั้นเราจึงอาจเรียกระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ได้อีกอย่างว่าเป็น ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) อย่างไรก็ตามระบบผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถนำมาแทนที่การทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ได้ เนื่องจากทั้งระบบผู้เชี่ยวชาญและมนุษย์จะต้องทำงานร่วมกัน โดยมนุษย์จะนำข้อมูลที่ได้จากระบบผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาร่วมกับวิจารญาณของตนเองเพื่อตัดสินปัญหาที่ซับซ้อนอีกที อย่างไรก็ตามระบบผู้เชี่ยวชาญนี้เป็นคลื่นแห่งอนาคต ที่จะใช้เป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจการทำงานของมนุษย์ได้อย่างดีเยี่ยม

ภาษาคอมพิวเตอร์ จำแนกตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น ดังนี้

ภาษาโปรแกรม
ภาษาสคริปต์
ภาษามาร์กอัป
Query language
Transformation language

โดยภาษาแต่ละประเภท มีลักษณะ ดังนี้

ภาษาโปรแกรม คือ ภาษาประดิษฐ์ที่สามารถใช้ควบคุมกำหนดพฤติกรรมการทำงานของเครื่องจักรได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์  ภาษาโปรแกรมก็เหมือนภาษามนุษย์ที่จะต้องใช้วากยสัมพันธ์ (syntax) และความหมาย (semantic) เพื่อกำหนดโครงสร้างและตีความหมายตามลำดับ ภาษาโปรแกรมช่วยให้การสื่อสารในภารกิจสารสนเทศสะดวกมากขึ้นและถูกต้องแม่นยำตามขั้นตอนวิธี (algorithm) ในโลกนี้มีภาษาโปรแกรมมากกว่า 8,500 ภาษาที่แตกต่างกันไป และก็ยังมีภาษาใหม่เกิดขึ้นทุกๆ ปี ผู้ที่ใช้งานภาษาโปรแกรมเพื่อเขียนโปรแกรมเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (programmer)

ภาษามาร์กอัป (Markup language) คือประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ที่แสดงทั้งข้อมูล และข้อมูลรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยข้อมูลรูปแบบอธิบายถึงโครงสร้างหรือการแสดงผลซึ่งส่วนนี้เรียกว่า มาร์กอัป โดยจะอยู่รวมกับข้อมูลปกติ ภาษามาร์กอัปที่รู้จักกันดีที่สุดคือ HTML ตามความเป็นมาแล้ว ภาษารูปแบบนี้ได้มีการใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ในการติดต่อสื่อสารงานพิมพ์ระหว่างผู้เขียน บรรณาธิการ และเครื่องพิมพ์

ภาษาสอบถาม (Query language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสอบถามหรือจัดการกับข้อมูลใน DBMS โดยภาษาประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structure Query Language: SQL) คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มในทศวรรษที่ 1970 มีรูปแบบคำสั่งที่คล้ายกับ ประโยคในภาษาอังกฤษมาก ซึ่งปัจจุบันองค์กร แอนซี ได้ประกาศให้ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง เป็นภาษามาตรฐานสำหรับระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database management System หรือ RDBMS) เป็นระบบ DBMS แบบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ทุกระบบจะใช้คำสั่งพื้นฐานของภาษา SQL ได้เหมือน ๆ กัน แต่อาจมีคำสั่งพิเศษที่แตกต่างกันบ้าง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายก็พยายามที่จะพัฒนา RDBMS ของตนเองให้มีลักษณะที่เด่นกว่าระบบอื่นโดยเพิ่มคุณสมบัติที่เกินข้อกำหนดของ แอนซี ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้เข้าไป

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550



พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

สาระสำคัญที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์, อินเตอร์เน็ต ควรทราบจากพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีดังนี้ หมวด 1 มาตรา 1 ถึง 4 เป็นข้อความทั่วไปที่ระบุถึงความเป็นมาของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ที่จะต้องทราบและเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการและผู้ใช้ จะเริ่มจากมาตรา 5 จนถึง
มาตรา 16 นอกจากนั้นในหมวด 2 – 3 จะเป็นเรื่องของพนักงานเจ้าหน้าที่ และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน

หมวด 1  ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำโดยมิชอบ

มาตรา 5
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ  และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน  หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 6
การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง : ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 7
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 8
การดักข้อมูลโดยมิชอบ : ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น    มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 9
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี  หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 10
รบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ :  ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 11
สแปมเมล์ (Spam mail) : ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว  อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น โดยปกติสุข ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา 12
การกระทำความผิดต่อประชาชนโดยทั่วไป/ความมั่นคง : ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
1.  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
2.  เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 13
การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด : ผู้ใดจำหน่าย หรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด  ตามมาตรา 5  มาตรา 6  มาตรา 7  มาตรา 8  มาตรา 9 มาตรา 10  หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 14
นำเข้า/ปลอม/เท็จ/ภัยมั่นคง/ลามก/ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
1. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์  ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อัน เป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
2. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
3. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
4. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชน ทั่วไปอาจเข้าถึงได้
5. เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 15
ความรับผิดของผู้ให้บริการ : ผู้ใดให้บริการ ผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14

มาตรา 16
การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง : ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้  ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตามเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ความผิดอื่นใดอาจไม่ได้รับโทษตาม พ.ร.บ. นี้เพียงอย่างเดียวต้องดูองค์ประกอบ และกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วย  เช่น  พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์,  พ.ร.บ.  ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดทางแพ่ง, อาญา

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกต์ใช้ในภาครัฐ



เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกต์ใช้ในภาครัฐ

ในสังคมปัจจุบัน น้อยคนนักที่ไม่เคยได้ยินคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)  แต่ในคำจำกัดความนั้นความหมายที่ครอบคลุมได้รวมถึงความรู้ในกระบวนงานที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การนำข้อมูลมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆ ด้าน ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน

พัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาล ภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพในการแข่งขันกันผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า ขณะที่ภาครัฐยังมิได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศมากนักในการสร้างและนำเสนอบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนซึ่งอาจเป็นจุดด้อยของภาครัฐที่ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กันในปัจจุบันของหน่วยงานราชการแทบทุกแห่ง ได้แก่ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลมาใช้ในงานพิมพ์เอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด จึงทำให้หน่วยงานหลายแห่งของบประมาณประจำปีเพื่อเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นรุ่นใหม่ขึ้น แล้วนำมาใช้พิมพ์เอกสารทั้งที่เครื่องรุ่นเก่าที่มีศักยภาพเพียงพอหรือสูงกว่าสำหรับการใช้งานเพื่อพิมพ์เอกสาร ในความเป็นจริงแล้ว การใช้ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีด้านอื่นอีก อาทิ การสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้งานจัดเก็บข้อมูลเรื่องต่างๆ เทคโนโลยีเช่นนี้มีประสิทธิภาพสูงมากในการเก็บข้อมูลของหน่วยงานราชการแทนวิธีการเก็บข้อมูลแบบเก่าหรือแบบที่เป็นเอกสาร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หน่วยงานบางแห่งของรัฐได้สร้างจุดเริ่มต้นด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานประจำวันที่อำนวยความสะดวกทั้งแก่ข้าราชการและประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการจุดประกายไฟฝันในภาครัฐที่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

การที่จะส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในภาครัฐนั้นสิ่งสำคัญที่ควรเล็งเห็นและควรเตรียมการให้พร้อม ก็คือการสร้างความเข้าใจและวิสัยทัศน์ของผู้นำ และมีเป้าหมายอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศในภาครัฐให้เข้มแข็งและมีศักยภาพสูงสุด และประเด็นที่จะละเลยไม่ได้ก็คือการเตรียมความพร้อมสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือข้าราชการที่ต้องเข้ามารองรับงานที่กี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสำคัญสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ควรเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็น  ความคุ้มค่า และประโยชน์สูงสุด ต้องมองให้ละเอียดถี่ถ้วนด้วยว่าเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ละประเภทมีศักยภาพหรือสารมารถทำอะไรได้บ้าง แล้วจึงนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาช่วยให้องค์กรสามารถทำงานในลักษณะใหม่ หรือนำมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ จึงจะเกิดผลของการปรับปรุงในองค์กรอย่างแท้จริง

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กรนั้น สามารถอธิบายได้ดังนี้

•    เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตไม่ว่าจะในภาครัฐหรือเอกชน นั่นคือการผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่ากัน  แต่จะใช้แรงงานและต้นทุนน้อยลง
•    เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารสามารถสอดส่องดูแลและควบคุมบุคลากรในองค์กรได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนการรวมอำนาจในการบริหารและกระจายการตัดสินใจได้พร้อมๆ กัน
•    เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุม
•    เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลทำให้สังคมในยุคข้อมูลข่าวสารเน้นการให้บริการและการเข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น เพราะการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำนั้น ได้มีการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อกลางหนึ่งของการติดต่อสื่อสารในทุกๆ องค์กรและสังคม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ผู้นำในองค์กรของรัฐควรที่จะตระหนักและเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้ อีกทั้งเล็งเห็นคุณประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างแท้จริงในการใช้และพัฒนาระบบการทำงานที่ประยุกต์มาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ความมีวิสัยทัศน์ของผู้นำจึงเป็นปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ ผู้นำหรือผู้บริหารสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะก้าวกระโดดหรือการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมได้ ถ้าผู้นำมุ่งมองไปที่ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศชนิดต่างๆ ก่อนว่า สามารถกระทำอะไรได้บ้างที่ในอดีตไม่เคยได้ทำ แล้วจึงออกแบบและสร้างสรรค์กระบวนการทำงานใหม่ในองค์กรให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ การประชุมหรือสัมมนาทางไกล (Teleconferencing) ที่ทำให้ทีมงานที่อยู่ในสถานที่ห่างไกลกันสามารถตัดสินใจหรือทำงานร่วมกันได้  ซึ่งในอดีตการใช้เทคโนโลยีแบบนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ในปัจจุบันนี้ การใช้งานได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว

อย่างไรก็ตาม การสร้างให้ภาครัฐเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบนั้นต้องใช้งบประมาณสูงและใช้เวลาในการเตรียมการนาน ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โครงการต่างๆ ก็ต้องชะลอตัว แต่การสร้างแผนงานและวิสัยทัศน์ที่ดีเกี่ยวกับการทำให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถปฏิบัติได้  สิ่งที่ควรตระหนักและสร้างความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยี ก็คือ สารสนเทศ ทั้งนี้  เพราะทรัพยากรส่วนหนึ่งของภาครัฐในปัจจุบันคือสารสนเทศที่เป็นข้อมูลจริง ถูกต้อง แม่นยำโปร่งใส ซึ่งเทคโนโลยีได้เข้ามาจับและใช้เป็นเครื่องมือของการทำให้สารสนเทศเข้าถึงประชาชน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง


วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงสร้างระบบฐานข้อมูล


โครงสร้างระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลในปัจจุบัน จะนิยมใช้ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relational Database) โครงสร้างพื้นฐานของฐานข้อมูลประเภทนี้จะมีดังต่อไปนี้

ตาราง(Table)

จะเป็นที่เก็บข้อมูลของฐานข้อมูล จะมีลักษณะเป็นตาราง 2 มิติ โดยจะถือว่าข้อมูลในแนวนอน(แถว)เป็นข้อมูลหนึ่งชุด เรียกว่าเรคคอร์ด (Record) ซึ่งข้อมูลในแต่ละชุดจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ตามแนวตั้ง(คอลัมน์) ซึ่ง เรียกว่า ฟิลด์ (Filed)

 

จากรูปที่ เป็นตัวอย่างตารางเก็บข้อมูลสินค้า โดยสินค้าแต่ละชนิดจะถือว่าเป็นหนึ่งเรคคอร์ด ในแต่ละเรคคอร์ดจะมีข้อมูลชนิดต่างๆ (ฟิลด์ต่างๆ) บรรจุอยู่ ซึ่งในหนึ่งฐานข้อมูลก็จะประกอบด้วยตารางตั้งแต่หนึ่งตารางขึ้นไป

อินเด็กซ์ (Index)

อินเด็กซ์ จะเป็นฟิลด์ที่ใช้ช่วยในการค้นหาข้อมูล การทำงานของฟิลด์ที่เป็นอินเด็กซ์ก็คือ จะมีการจัดเรียงลำดับ โดยอัตโนมัติโดยอาศัยฟิลด์อินเด็กซ์เป็นตัวอ้างอิง การที่มีอินเด็กซ์ก็หมายความว่า ข้อมูลได้มีการจัดเรียงไว้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นสมุดโทรศัพท์ ถ้าเราต้องการต้องการหาชื่อคนที่ขึ้นต้นด้วยตัว อ.อ่าง เราก็สามารถไปเปิดค้นได้จากบริเวณท้ายเล่มได้เลย โดยไม่ต้องดูไปทีละหน้าว่ามีชื่อที่ขึ้นต้นด้วย อ.อ่างอยู่หรือไม่

ไพรมารี่ย์คีย์ (Primary Key)

ไพรมารี่ย์คีย์จะเป็นฟิลด์ที่สามารถเป็นตัวแทนเรคคอร์ดทั้งหมด ค่าไพรมารี่ย์คีย์จะต้องไม่ซ้ำกัน เมื่อระบุค่าไพรมารี่ย์คีย์แล้ว จะต้องสามารถอ้างอิงถึงฟิลด์อื่นๆได้เลย ยกตัวอย่างเช่น จากรูปที่1 เมื่อเราระบุสินค้ารหัส 0001 ก็จะหมายถึง พัดลมที่ราคา900 บาทได้เลย

การเก็บข้อมูลแบบสร้างความสัมพันธ์

ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์จะมีจุดเด่นที่ พยายามแยกข้อมูลออกมาเป็นชุดๆ (เป็นตารางอิสระ) แล้วจึงกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง(ข้อมูล)ขึ้น เพื่อเก็บข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้น การจัดเก็บลักษณะนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  และจะช่วยให้การแก้ไขเป็นไปอย่างสะดวกและลดความผิดพลาด










จากรูปที่ จะเห็นได้ว่า ได้แยกข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสินค้าเป็นอย่างละหนึ่งตาราง แล้วจึงเก็บข้อมูลการสั่งซื้อโดยสร้างเป็นตารางความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับสินค้าขึ้น ซึ่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิงในตารางความสัมพันธ์นั้นก็คือไพรมารี่ย์คีย์นั่นเอง


เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่ารูปบน กับ รูปล่าง จะเห็นได้ว่า ในรูปที่ล่างนั้น ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน ยกตัวอย่างเช่นการสั่งพัดลมก็จะต้องเก็บชื่อสินค้าและราคาซ้ำกันสองที่ ซึ่งที่จริงแล้วสามารถจำแนกได้จากรหัสสินค้าได้โดยตรง นอกจากนั้นแล้ว ถ้าจะมีการแก้ชื่อจากพัดลม เป็นพัดลมตั้งโต๊ะ ก็จำเป็นจะต้องแก้ในทุกรายการที่เป็นพัดลมในตารางการสั่งซื้อในรูปล่าง ซึ่งถ้าเป็นการเก็บข้อมูลแบบใช้ความสัมพันธ์ ก็เพียงแก้เฉพาะชื่อสินค้าในตารางสินค้าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น


ทำไมต้องมีระบบฐานข้อมูล



ระบบฐานข้อมูล

ในการประกอบธุรกิจจะมีข้อมูลต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลการสั่งของ ข้อมูลพนักงาน ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดี นอกจากนั้นในการตัดสินใจต่างๆจะมีข้อมูลที่ต้องใช้ประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก การนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้นั้น ถ้าไม่ได้มีการจัดระเบียบการเก็บที่ดี ก็ย่อมนำมาใช้ได้อย่างยากลำบาก

ทำไมต้องมีระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพจะมีหน้าที่หลักๆดังต่อไปนี้

- การเก็บรักษาข้อมูล ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้การเก็บรักษาข้อมูลเป็นระบบระเบียบ มีการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล ซึ่งจะให้ผู้จัดเก็บทำงานได้สะดวกมากขึ้น และป้องกันความผิดพลาดได้

- การนำข้อมูลไปใช้ ข้อนี้จะเป็นหัวใจของระบบฐานข้อมูลเลยทีเดียว ระบบฐานจะทำให้การดึงข้อมูลออกมาใช้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสรุปข้อมูลและประมวลผลต่างๆจะทำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจได้ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บข้อมูลใบสั่งของจากลูกค้า ถ้าเราเก็บโดยไม่มีระบบเช่นเก็บสำเนาใบเสร็จทั้งหมดไว้ เราก็จะมีเพียงหลักฐานว่าใครสั่งอะไรไปบ้างเท่านั้น แต่ถ้ามีการเก็บลงระบบฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้าช่วย เราจะสามารถดึงข้อมูลสรุป ต่างๆออกมาใช้ได้ เช่น สามารถรวบรวมได้ว่า ลูกค้ารายนี้ สั่งอะไรบ้าง สินค้ารายการนี้ถูกสั่งไปเท่าไร เหลืออีกเท่าไร ฯลฯ

การแก้ไขข้อมูล 

เป็นอีกความสามารถหนึ่งที่ระบบฐานข้อมูลจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ยกตัวอย่างเช่น จากข้อที่แล้วตัวอย่างใบสั่งของ ถ้าลูกค้ามีการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เราก็สามารถแก้ทีเดียวได้ โดยไม่ต้องเข้าไปแก้ในใบสั่งของแต่ละใบ เป็นต้น

ซึ่งจากหน้าที่ของระบบฐานข้อมูลจะทำให้เห็นว่า การเก็บข้อมูลอย่างมีระบบกับไม่มีนั้น มีความสามารถและประโยชน์ใช้สอยต่างกันมาก ซึ่งก็คงจะทำให้เห็นประโยชน์ของฐานข้อมูลเด่นชัดขึ้น


อันที่จริงแล้วนั้น ระบบฐานข้อมูลไม่จำเป็นจะต้องอิงกับคอมพิวเตอร์เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ระบบบัตรทะเบียนหนังสือในห้องสมุด ระบบบัตรคนไข้ ฯลฯ แม้แต่การที่เราจดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อน ก็ถือได้ว่าเป็นระบบฐานข้อมูลอย่างหนึ่ง  ซึ่งระบบดังกล่าวนี้ ถ้ามีการใช้หลักของการจัดการฐานข้อมูลที่ถูกต้องแล้วละก็ จะสามารถมีความสะดวกในการใช้สอยได้ในระดับหนึ่ง

แต่ทว่าในปัจจุบันเมื่อเราพูดถึงระบบฐานข้อมูล เราก็มักจะนึกถึงระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลนั้น อาจพูดได้ว่า เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ที่ตรงกับข้อเด่นที่สุดของคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ก็คือ ใช้กับงานที่มีการทำซ้ำเป็นจำนวนมาก มีการประมวลผลที่เป็นระบบ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะไม่มีความผิดพลาดอันเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือเบื่อหน่าย

มาใช้ระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์กันดีกว่า

จากตัวอย่างที่ยกมา คงจะเห็นข้อดีขอระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์แล้ว ในขั้นต่อไปในการจะเริ่มใช้ฐานข้อมูล อันดับแรกก็คงจะเป็นการเลือกโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมาใช้  ในปัจจุบันโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลมีให้เลือกมากมายหลายชนิด มีทั้งโปรแกรมที่ขายในท้องตลาดทั่วไป เช่น Microsoft access, ORACLE ฯลฯ หรือโปรแกรมที่แจกให้ใช้ผ่านทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น Mysql ฯลฯ

อันที่จริงแล้วนั้น ในการพัฒนาระบบที่ถูกต้องนั้น จะต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ระบบก่อนว่า ระบบของเราเป็นเช่นไร จะมีข้อมูลอะไรบ้างที่ใช้ในระบบ  ต้องประเมินว่าจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นจะมีประมาณเท่าใด มีการใช้ฐานข้อมูลในลักษณะใดบ้างเช่น ต้องออกรายงาน  ต้องมีการแสดงผลแบบเรียล์ไทม์(real time) ฐานข้อมูลจะมีการเข้าใช้พร้อมกันหลายคนหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งเมื่อได้ผลของการวิเคราะห์แล้ว จึงนำไปเลือกโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่เหมาะสม สามารถรองรับระบบที่เราต้องการใช้ได้

แต่สำหรับผู้เริ่มต้นแล้ว แนะนำว่าให้เริ่มทดลองใช้ให้คุ้นเคยกับระบบการจัดการฐานข้อมูลก่อน เพราะแทบทุกโปรแกรม ลักษณะการจัดการจะค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จะมีข้อแตกต่างก็แต่ว่าการใช้งานยากง่ายต่างกันเท่านั้น เช่นหน้าตาของตัวโปรแกรม การจัดวางเมนูใช้งาน ฟังชั่นสนับสนุนการทำงานต่างๆ ซึ่งเมื่อมีความคุ้นเคยแล้ว ก็จะทำให้สามารถเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับระบบงานที่เป็นอยู่ได้

หลักการเลือกโปรแกรมระบบฐานข้อมูล

การเลือกโปรแกรมระบบฐานข้อมูลมีข้อที่ควรคำนึงถึงต่อไปนี้

- จำนวนข้อมูลที่รองรับได้ องค์กรขนาดย่อมอาจไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ต้องคิดถึงการขยายในอนาคตด้วย

- วิธีการนำข้อมูลไปใช้  โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทุกชนิด จะมีการเตรียมวิธีการนำข้อมูลไปใช้ไว้อยู่แล้ว แต่รูปแบบของการนำไปใช้ จะแตกต่างกัน ในแต่ละประเภท ตรงนี้ เราต้องคำนึงถึงว่า การนำไปใช้ของเราเป็นลักษณะใด เช่น เราต้องการรายงานออกมาในรูปตารางสรุป หรือ อาจต้องการในรูปของกราฟแสดงผล นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึงว่า การถ่ายข้อมูลไปยังโปรแกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกระทำได้หรือไม่ มีรูปแบบการนำข้อมูลออกตรงกับที่ต้องการหรือไม่ เช่น ต้องการนำข้อมูลไปเข้าโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ เป็นต้น

- ความเป็นมาตรฐาน ความแพร่หลาย ถ้าเราใช้โปรแกรมที่มีจำนวนผู้ใช้มาก ก็จะทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลสะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถ ขอความช่วยเหลือและพัฒนาระบบต่อได้โดยง่าย

- ระบบความปลอดภัย ต้องคำนึงถึงทั้งการเก็บสำรองข้อมูลในกรณีเกิดปัญหาทางฮาร์ดแวร์  และ ระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลในกรณีที่เป็นข้อมูลลับที่อาจมีการขโมยข้อมูลเกิดขึ้น

- ราคา โดยปกติแล้ว โปรแกรมที่มีความสามารถสูงก็ย่อมมีราคาแพง เราอาจต้องประเมินดูว่า จริงๆแล้วเราต้องการความสามารถนั้นๆหรือเปล่า

- คำไข ระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้

ระบบปฏิบัติการ (operating system) คืออะไร



ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน

ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น

บทบาทและเป้าหมายของระบบปฏิบัติการ (Goals & Roles of an OS)

• อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ใช้ (user) ใช้เครื่องฯ ได้ง่าย (Operating System Objectives  Convenience) ทำให้คอมฯ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน

• ใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จัดการการใช้ทรัพยากรของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• เพิ่มความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรม (Ability to evolve) เพื่อรองรับให้ผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ, สามารถทดสอบโปรแกรม, และสามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ โดยปราศจากการแทรกแซงของระบบปฏิบัติการในระหว่างการทำงาน

ระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, Notebook, Tablet, Smartphone ก็มี Linux, MICROSOFT Windows, APPLE Mac OS X, APPLE iOS, GOOGLE Android, และ NOKIA Symbian เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บนเครื่องขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็มีวินโดวส์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ และระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรม เป็นต้น

มักจะมีคำถามว่าถ้าเราจะซื้อเครื่องโน๊ตบุ๊คใหม่ควรใช้ระบบปฏิบัติการอะไรดีระหว่าง Windows Vista, Windows 7, Windows 2008, Windows8, Mac OS X หรือ Linux ค่ายไหนดี และจะใช้แบบพื้นฐานที่มีให้มาพร้อมเครื่องหรือต้อง Upgrade เป็นระดับ Premium ดี ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มอีก เป็นต้น เราจะได้คำตอบมากมายไม่เหมือนกัน ปกติเราต้องสำรวจตัวเราเองก่อนว่าเราจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำอะไรบ้าง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ใช้งานอินเตอร์เน็ต รับส่งอีเมล์ ตัดต่อภาพถ่ายหรือวีดีโอ เล่นเกม ใช้โปรแกรมสเปรตชีต เขียนโปรแกรมใช้งาน ใช้ฐานข้อมูล สำรองข้อมูล ทดสอบโปรแกรมก่อนนำไปใช้งาน ถูกโจมตีโดยไวรัสได้ง่ายหรือไม่ ประสิทธิภาพสูงไหม น้ำหนักและขนาดของเครื่องสำคัญไหม เท่มั๊ย อินเทรนด์รึเปล่า เป็นต้น เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้วก็เปรียบเทียบยี่ห้อ รุ่น ราคา การรับประกัน การบริการหลังการขาย และปรึกษาผู้รู้ เพื่อนฝูง ค้นหาในอินเตอร์เน็ต หรือพนักงานขาย สุดท้ายเราก็จะเลือกระบบปฏิบัติการและเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ได้ตรงตามความต้องการ

ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น

ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)

โปรแกรมระบบปฏิบัติการ  (Operating  Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors  Programs  เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ 

•    หน้าที่หลัก ๆ ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ  มีดังนี้

1)  การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ 
2)  การจัดตารางงาน  (Scheduling) 
3)  การติดตามผลของระบบ (Monitoring)
4)  การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming)    
5)  การจัดแบ่งเวลา (Time  Sharing) 
6)  การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน (Multiprocessing) 

•    ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

1) โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs)  หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่

a. Supervisor การจัดการทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ จะอยู่ภายใต้ความควบคุมของ Supervisor  ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำหลักในซีพียูและทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนอื่นๆ ของโปรแกรมควบคุมระบบ เมื่อใดที่โปรแกรมภายใต้ระบบปฏิบัติการถูกเรียกมาใช้งาน  Supervisor  จะส่งการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น เมื่อการทำงานสิ้นสุดลง โปรแกรมดังกล่าวจะส่งการควบคุมกลับมายัง Supervisor  อีกครั้ง 

b. โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่นๆ (Other Job/Resource Control Programs) ได้แก่ โปรแกรมที่ควบคุมเกี่ยวกับลำดับงาน ความผิดพลาดที่ทำให้การหยุดชะงักของโปรแกรม (Interrupt) หรือพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทราบเมื่อมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแจ้งให้ทราบถึงสถานภาพของอุปกรณ์รับส่ง เป็นต้น 

2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมีลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้  เช่น  โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS – DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้  ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่

a. MS – DOS (Microsoft  Disk  Operating  System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้  Microprocessor  รุ่น  8086,  8088,  80286,  80386,  80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์  IBM  Compatible  ทั่วไป มี  2 เวอร์ชัน (Version)  ได้แก่  PC-DOS  และ  MS-DOS  ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้  (User  Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง  (Command – line User  Interface)  MS – DOS  นั้นจะมีส่วนประกอบโปรแกรม 3 ส่วน คือ  IO.SYS  MS – DOS.SYS และ  COMMAND.COM  ทั้ง 3 โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ สำหรับ MS – DOS.SYS และ  IO.SYS นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน

    IO.SYS  เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ป้อนเข้า (Input  Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output  Device) เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

    MS – DOS.SYS  เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึง (Access) โปรแกรมย่อย (Routine) ต่าง ๆ ของดอส  เมื่อโปรแกรมมีการเรียกใช้รูทีนเหล่านั้น ตัว MS – DOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านจากรีจิสเตอร์ทำการควบคุมการทำงาน (Control  Block) และจัดพารามิเตอร์ในการเรียกใช้  IO.SYS ให้ทำงานตามที่ต้องการ

    COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน คอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งผ่านคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมผู้ใช้กับโปรแกรมจัดระบบ

คำสั่งในระบบ MS – DOS จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

        -  คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ เช่น คำสั่ง DIR  (Directory) เป็นการเรียกข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ขึ้นมาดูเพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูล คำสั่ง  COPY เป็นการสำรองข้อมูลไว้  REN (Rename) เป็นการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลโดยที่ข้อมูลภายในยังคงเหมือนเดิม  คำสั่ง  TYPE  เป็นการเรียกดูรายละเอียดของข้อมูลแต่ละแฟ้มขึ้นมาดู  แต่แฟ้มนั้นจะต้องอยู่ในรูปของข้อความ (Text  File) และคำสั่ง CLS (Clear) เป็นคำสั่งลบข้อความบนจอภาพ  โดยที่ข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มจะไม่หาย เป็นต้น

        - คำสั่งภายนอก (External  Command) คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่างๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้  เช่น คำสั่ง CHKDSK  (Check  Disk) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยเก็บข้อมูลสำรองว่ามีพื้นที่ในการเก็บเท่าใด ใช้ไปเท่าใด คงเหลือเท่าใด และมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเสียหรือไม่ 

คำสั่ง FORMAT เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างภายในแผ่นหรือจานแผ่นเหล็ก เป็นการวิเคราะห์แผ่นจานแม่เหล็กสำหรับตำแหน่ง (Track) ที่เสีย

b. Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ.1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็กๆ  เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้  Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking  ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ  Windows  ขึ้นมามี  3 เวอร์ชัน  (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11

c. Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ.1995  บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking)  การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network) Windows 95 มีคุณลักษณะเด่น ดังนี้

-  มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก  (Graphical  User  Interface :GUI) 
-  มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์ และสามารถใช้โปรแกรมหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน 
-  มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า Word Pad โปรแกรมวาดรูป และเกม
-  เริ่มมีเทคโนโลยี Plug and Play และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยติดตั้ง Windows 95 ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่ MS-DOS ก่อน แต่สามารถใช้งานร่วมกับ MS-DOS ได้
-  สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน Windows 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รันบน  Windows 95 มีความสามารถส่ง Fax และ E – mail  ได้

d. Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่างๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ 

e. Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้นๆ ว่า “Windows  ME”  ในเวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก  Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น 

f. Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network)  คล้ายกับ Windows 95  พัฒนามาจาก LAN  Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT มีดังนี้

-  สามารถใช้กับตัวประมวลผล (Processor) ได้หลายแบบ ทั้ง Pentium, DEC และ Alpha โดยย้ายรูปแบบโปรแกรมข้ามระบบได้
-  สามารถเพิ่มขยายหน่วยความจำได้ถึง 4 จิกกะไบต์ (4 GB)
-  ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกันและสามารถเปลี่ยนแปลงรายการแบบพหุคูณหรือหลายรายการพร้อมกัน (Multithreading)
-  สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์
- สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ NTFS  ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ FAT (File Allocation Table) เพียงอย่างเดียว
-  สามารถสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีจานแม่เหล็กหลายตัวต่อเป็นชุด ซึ่งเรียกว่า RAID  (Redundant Aray of Inerpenside Disks)
-  มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน และสามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน
- โปรแกรมที่ใช้ระบบ DOS ก็สามารถจะนำมาใช้งานบน Windows NT ได้

g. Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language

h. Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ
ทำงานร่วมกับ  Internet  Explorer 6  และ  Microsoft  Web  Browser   Windows  XP  มี  2  รูปแบบด้วยกัน  คือ  Windows  XP  Home  Edition  และ  Windows  XP  Professional  Edition

i.  Mac OS X  ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง  (Desktop  Publishing) 

j. OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย  สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า  Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกแต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย

k. UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงานหลายๆ โปรแกรมพร้อมกัน   (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม  มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น  (Workstation) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ UNIX สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี User ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัว ไปพร้อมๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลทฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บน DOS หรือ Windows มาใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ได้ นอกจากนี้ยังมียูทิลิตี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UNIX  อีกด้วย

l. LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน จากปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ตั้งทีมออกแบบพัฒนาให้ใช้งานภาษาไทยและสามารถนำมาใช้งานแทน  Windows ได้ ให้ชื่อว่า Linux TLE (Thai Language Extension) หรือ ลินุกซ์ทะเล และเป็นการพัฒนาโดยคนไทยซึ่งต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์กลางที่มีภาษาไทยเสริม ภายใต้มาตรฐานสากล TLE  จึงเป็นตัวแทนของจุดประสงค์ของการพัฒนา และแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สอดคล้องกับที่มาและสามารถเข้าใจได้ในเวทีสากล  ลินุกซ์ทะเลได้พัฒนาระบบภาษาไทยให้ใช้งานได้ดีถึง 100% มีระบบการตัดคำที่อ้างอิงจากดิกชันนารี  เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยประเภทบิตแมปอีก 20 ฟอนต์ รวมทั้งฟอนต์แบบ True – Type สนับสนุนมาตรฐาน TIS620 เป็นฟอนต์ไทยซึ่งทาง NECTEC ได้จดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

m. Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce

n. Windows 7 เป็นระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เผยแพร่เชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม 2552 ในการพัฒนา Windows 7 รู้จักในชื่อรหัส “Blackcomb” และ “Vienna” ได้รับการสร้างบนเคอร์เนล Vista ต่อผู้ใช้สุดท้ายจำนวนมาก การเปลี่ยนใหญ่ที่สุดระหว่าง Vista และ Windows 7 เร็วกว่าในเวลาบู๊ต การอินเตอร์เฟซผู้ใช้ใหม่และนอกเหนือจาก Internet Explorer 8 ระบบปฏิบัติการนี้มีให้อย่างกว้างขวางในสามรุ่นค้าปลีกคือ Windows 7 Home Premium, Professional และ Ultimate นอกจากนี้ ในบางตลาดมีรุ่น Starter, OEM และ Enterprise

o. Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์รุ่นล่าสุด เริ่มพัฒนาก่อน Windows 7 ในปี 2009 ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2011 Windows 8 ปล่อยออกมา 3 เวอร์ชันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 ส่งไปยังผู้ผลิตในวันที่ 1 สิงหาคม 2555 และเปิดให้ใช้งานโดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปในวันที่ 26 ตุลาคม 2555

Windows 8 ปรับเปลี่ยนโดยเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเช่น แท็บเล็ต เพื่อเป็นคู่แข่งกับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เช่น ไอโอเอสและแอนดรอยด์ และได้ปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (UI) ทีมีชื่อว่า Modern UI มีหน้าตาที่เรียบง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีการอัปเดตแอปต่าง ๆ ตลอดเวลาด้วยระบบ Live Tiles และยังผนวกโปรแกรมป้องกันไวรัสเข้ามากับระบบปฏิบัติการโดยตรง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสเพิ่มเติม

p. Apple iOS ระบบปฏิบัติการ iOS พัฒนาโดย APPLE Inc. เพื่อใช้กับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) ของ APPLE Inc. เช่น iPhone, iPadและ iPod เป็นต้น

q. GOOGLE Android เป็นระบบปฏิบัติการเปิดที่พัฒนาโดย GOOGLEด้วยเทคโนโลยีที่ GOOGLEอ้างว่าทำงานเหมือนแต่ไม่ใช่ ORACLE Java Technology โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้กับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) เนื่องจาก Android เป็นระบบปฏิบัติการเปิดจึงทำให้มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ขึ้นมามากมายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกมากและราคาไม่แพง

3)  ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้

a.    ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand – alone
เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค  ที่ทำงานโดยไม่มี
การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือหากมีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย  เช่น  LAN  หรือ Internet  ก็จะเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า “Client Operating System”  ได้แก่  MS – DOS,  MS – Windows ME, Windows server 2000,  Windows XP,  Windows NT, Windows server 2003, UNIX, LINUX,  Mac OS, OS/2 Warp  Client

b.    ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System)
เป็นระบบปฏิบัติการที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ จัดเก็บไว้บนชิพ ROM ของเครื่องมีคุณสมบัติพิเศษ  คือ ใช้หน่วยความจำน้อยและสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้ สไตล์ลัส (Stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ตัวระบบปฏิบัติการจะมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand Writing Recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้องพบได้ในคอมพิวเตอร์แบบ Hand Held เช่น Palm Top, Pocket PC เป็นต้น ระบบปฏิบัติการชนิดนี้ได้รับความนิยม คือ Windows CE, Pocket PC 2002 และ Palm OS เป็นต้น

c.    ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS)
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน  รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลแอนด์ เช่น การประมวลผล และการติดต่อกับผู้ใช้ 

d.    ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม กันจำนวนหลายๆ โปรแกรม (Multitasking)  การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คน (Multi - User) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน

e.    ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System)
สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่างๆ กันได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น

4)  การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Selecting a  Microcomputer  Operating  System) เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะตัวประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การและงบประมาณที่มี

4.2.1.2  โปรแกรมภาษา (Language  Software)
โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานนั้นถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่เรียกว่า  “ภาษาคอมพิวเตอร์” ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) จะต้องเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ของคำสั่ง  และวิธีการเขียนโปรแกรมของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้เขียนโปรแกรม  ปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีอยู่มากมายหลายภาษา เช่น Basic, C, C++, Java เป็นต้น 

•    โปรแกรมภาษาสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ

1)  ภาษาเครื่อง (Machine Language) 
เป็นภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยมีโครงสร้างและพื้นฐานเป็นเลขฐาน 2 และตัวสตริง (Strings) ซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ในทันที ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษา  คำสั่งของภาษาเครื่องนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ

a.    ส่วนที่บอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code)
เป็นส่วนที่จะบอกให้เครื่องประมวลผล  เช่น  ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ เป็นต้น

b.    ส่วนที่บอกตำแหน่งของข้อมูล (Operand)
เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงตำแหน่งหน่วยของข้อมูลที่จะนำมาคำนวณว่าอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ

2)  ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Language)
ได้ปรับปรุงให้ง่ายขึ้นโดยสร้างรหัส  (Mnemonic Code) และสัญลักษณ์ (Symbol) แทนตัวเลขซึ่งเรียกชื่อภาษาว่า ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์  ลักษณะโครงสร้างของภาษาสัญลักษณ์จะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากคือ ประกอบด้วย 2 ส่วนที่เรียกว่า Op – Code และ Operands โดยใช้อักษรที่มีความหมายและเข้าใจง่ายแทนตัวเลข

3)  ภาษาระดับสูง (High – Level  Language)
เนื่องจากภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ยังคงยากต่อการเข้าใจของมนุษย์  ประกอบกับความเจริญทางด้านซอฟต์แวร์มีมากขึ้น  จึงได้มีการพัฒนาให้เป็นคำสั่งที่มีความหมายเหมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้กัน  เพื่อให้สะดวกกับผู้เขียนโปรแกรม เช่น  ใช้คำว่า  PRINT  หรือ  WRITE  แทนการสั่งพิมพ์  หรือแสดงคำว่าใช้คำว่า  READ  แทนการรับค่าข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ภาษาระดับสูง  ตัวอย่างเช่น  Visual  Basic,  C,  C++,  Java  เป็นต้น

•    คอมไพเลอร์  (Compiler) 

    เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูงตามลำดับของชุดคำสั่งและข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติการได้ 

•    อินเทอร์พรีเตอร์  (Interpreter) 

     เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง  และปฏิบัติการตามคำสั่งโดยตรงจากโปรแกรมต้นฉบับทันที จะแปลคำสั่งครั้งละหนึ่งคำสั่ง แล้วประมวลผลในทันที หลังจากนั้น จะรับคำสั่งถัดไปเพื่อแปลเป็นภาษาเครื่อง แล้วประมวลผลทันที เช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะจบโปรแกรม หรือพบที่ผิดพลาดทางไวยากรณ์ในคำสั่งที่รับมาแปล

•    ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์

ยุคที่ 1  (First Generation Language : 1GL)
เป็นภาษาระดับต่ำ (Low – Level  Language) ประกอบด้วยเลขฐานสอง ได้แก่ 0 และ 1 หรือเรียกว่า  “ภาษาเครื่อง (Machine  Language)”

ยุคที่ 2  (Second Generation Language : 2GL)
ได้มีผู้พัฒนาให้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเลขฐานสอง เรียกว่า “ภาษาสัญลักษณ์ (Symbol  Language)” คือ ภาษาอังกฤษ จะเป็นคำสั่งสั้นๆ ที่จำได้ง่าย เรียกว่า “นิวมอนิกโค้ด (Nemonic  Code)”  ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่  ภาษา Assembly และเนื่องจากเป็นภาษาสัญลักษณ์ จึงต้องใช้ตัวแปลภาษา เพื่อทำให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ด้วยตัวแปลภาษาที่เรียกว่า “Assembler”

ยุคที่ 3  (Third Generation Language : 3GL)
ภาษาสัญลักษณ์ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถแทนตัวเลขฐานสองได้เป็นคำ ทำให้กลายเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจและเขียนได้ง่ายขึ้น คำสั่งสั้นและกระชับมากขึ้น เช่น ภาษา BASIC,  COBOL, Pascal

ยุคที่ 4  (Fourth Generation Language : 4GL)
ได้มีการพัฒนารูปแบบการเขียนโปรแกรมจากยุคที่ 3 ที่จัดว่าเป็นการเขียนแบบ Procedural ให้กลายเป็นการเขียนแบบ Non – Procedural ที่สามารถกระโดดไปทำคำสั่งใดก่อนก็ได้ตามที่โปรแกรมเขียนไว้ นอกจากนี้ จุดเด่นของภาษาในยุคนี้เริ่มจากการเขียนคำสั่งให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลได้และพัฒนาต่อมากลายเป็นการเขียนคำสั่งให้ได้โปรแกรมที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกมากขึ้น และพัฒนาจนมาถึงการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object – Oriented  Programming) เช่น  ภาษา C++, Visual C++, Delphi, Visual Basic เป็นต้น ปัจจุบันมีภาษาที่ใช้หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุที่นิยมใช้ เช่น ภาษา Java 

ยุคที่ 5  (Fifth Generation Language : 5GL)
เป็นภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) และปัญญาประดิษฐ์  (Artificial Intelligence : AI) ภาษาในยุคที่ 5 เรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ (Natural  Language)”  คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นเพื่อทำตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง 

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การทำงานของคอมพิวเตอร์


การทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้ โดยตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่าฮาร์ดแวร์ จะมีส่วนประกอบสำคัญขั้นพื้นฐาน 5 หน่วย  ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีหลักการทำงาน ดังนี้

1. หน่วยรับข้อมูล (input unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์  จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำจะถูกส่งไปยังหน่วยประมวลผล

2. หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  จากนั้นผลลัพธ์จะถูกส่งไปจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก

3. หน่วยความจำหลัก (main memory) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดอยู่เท่านั้น  ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นจะสูญหายไป

4. หน่วยแสดงผล (output unit) ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงผลหรือจัดเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง

5. หน่วยความจำรอง (secondary storage) ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เพื่อนำมาใช้อีกครั้งในภายหลังได้ แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลและโปรแกรมที่จัดเก็บไว้จะไม่สูญหาย

 


1. หน่วยรับข้อมูล

หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
เพื่อทำการประมวลผลต่อไป

1.1 แป้นพิมพ์ (keyboard)  ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดแป้นพิมพ์  ซึ่งมีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด  ประกอบด้วยปุ่มสำหรับพิมพ์อักขระ ตัวเลข เรียกใช้ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ และควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ 

1.2 เมาส์ (mouse) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง ผู้ใช้สามารถบังคับเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งไปมาบนจอภาพได้ 

1.3 สแกนเนอร์ (scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของการส่องแสงไปยังข้อความสัญลักษณ์ หรือภาพ ที่ต้องการทำสำเนาภาพ จากนั้นข้อมูลที่ถูกอ่านจะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และเก็บเป็นไฟล์ภาพ

1.4  อุปกรณ์จับภาพ (image capturing devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บภาพต้นฉบับในรูปดิจิทัล  อุปกรณ์จับภาพมี 2 ชนิด ดังนี้ กล้องถ่ายภาพดิจิทัล กล้องถ่ายวิดีโอดิจิทัล

1.5 อุปกรณ์รับเสียง(audio-input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เข้าใจให้อยู่ในรูปสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์นำไปประมวลผลได้ อุปกรณ์รับเสียงที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน

2. หน่วยประมวลผลกลาง

หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า CPU เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผล เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การจัดทำรายงาน 

หน่วยประมวลผลกลางจึงเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดวิเคราะห์เพื่อหาผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ต้องการได้ ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากอุปกรณ์รับข้อมูลตามคำสั่งต่างๆ

3. หน่วยความจำหลัก

หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

3.1 รอม (ROM : Read Only Memory)  เป็นหน่วยความจำหลักที่

- ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
- เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
- ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
- เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
- อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
- เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
- อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

 3.2 แรม (RAM : Random Access Memory)     
                         
- ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล  เพื่อนำไปประมวลผล
- ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย 
- ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
- ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่องเพื่อใช้ในการประมวลผล
- เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
- สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
- การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม

4. หน่วยแสดงผล

หน่วยแสดงผล (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผล โดยจะแปลงผลลัพธ์จากสัญญาณไฟฟ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจ

4.1 จอภาพ 
จอภาพ (monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ในรูปตัวอักษร ตัวเลข  ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวได้ในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น  แต่เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้  จอภาพอาจเรียกว่าหน่วยแสดงผลชั่วคราว

4.2  เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปข้อมูล  รายงาน  รูปภาพ  ลงบนกระดาษ  ซึ่งสามารถสัมผัสและเก็บรักษาไว้ได้นาน   เครื่องพิมพ์อาจเรียกว่า  หน่วยแสดงผลถาวร

4.3  ลำโพง
ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์รูปแบบเสียง  ซึ่งส่วนใหญ่จะให้มาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์

5. หน่วยความจำรอง

หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้  ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูลและโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ฮาร์ดิสก์ จานแม่เหล็กสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct Access) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป จานแสง (Optical Disk)  เครื่องอ่านแผ่นซีดี (CD-ROM Drive) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM (Compact Disc Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

ยุคนี้ไม่ว่าจะทำอะไรก็ง่ายไปหมดมีทั้งเครื่องมือลดต้นทุนและมีคอมพิวเตอร์ไว้คิดคำนวณแทนบุคลากรต่างๆได้ จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก โดยทำให้เกิดการประหยัดงบประมาณเงินทุนในการผลิต

คอมพิวเตอร์ก็นับว่าเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยมากที่สุดในตอนนี้ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีเยอะมากแทบจะมีใช้กับทุกครัวเรือนเลยทีเดียว เพราะตอนนี้ราคาคอมพิวเตอร์ก็ถือว่าไม่แพงมากนักเท่าไหร่ จึงทำให้ทุกคนสามรถเลือกซื้อหามาใช้ในบ้านกันได้ง่าย ประโยชน์ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล (Word processing) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย

สรุปประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ มีดังนี้




-เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า
-ตรวจสอบและสั่งซื้อสินค้า
-ขยายโอกาสทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
-ช่วยคำนวณตัวเลขทางธุริกิจได้อย่างแม่นยำ
-เพิ่มความสะดวกในการซื้อและขายสินค้า

2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น

สรุปประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

-ช่วยเก็บและประมวลผลข้อมูลในงานวิจัยและการทดลองต่างๆ
-เชื่อมต่ออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์นั้น
-ช่วยทำงานวิจัยหรืองานทดลองที่มีความละเอียดและมีขนาดที่เล็กๆได้
-สร้างแบบจำลองงานทดลองเพื่อลดความผิดพลาดจากการทดลองกับของจริง

3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน

สรุปประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในงานคมนาคมและสื่อสาร มีดังนี้

-ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร
-เป็นสื่อกลางในการรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
-ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน

4. งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน



สรุปประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีดังนี้

-ช่วยออกแบบและคำนวณโครงสร้างบ้านและอาคาร
-สร้างโมเดลจำลองก่อนการสร้างโมเดลจริง
-ควบคุมการทำงานด้านก่อสร้างที่มีความละเอียดอ่อน
-ช่วยประมวลผลและประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต

5. งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ, กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

สรุปประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในงานราชการ มีดังนี้

-ใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์
-ใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยง
-ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี

6. การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

สรุปประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในการศึกษา มีดังนี้

-ช่วยนำเสนอข้อมูล
-ช่วยรวบรวมข้อมูลต่างๆ
-ช่วยให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ได้เอง
-ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิด
-ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา
-ช่วยผลิตสื่อการเรียนรู้
-ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้



องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวจะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 6 ประการมาทำงานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) บุคลากร (People ware) ข้อมูล (Data) สารสนเทศ (Information) และกระบวนการทำงาน ( Procedure ) เป็นองค์ประกอบย่อยที่มีหน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมายในระบบงานคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยวๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU)  หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1). ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, UNIX, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, FORTRAN, Pascal, COBOL, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

2). ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา

2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น

บุคลากร (People ware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้

4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (People ware) ทั้งสิ้น


ข้อมูล (Data) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับโปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี  5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และมีการจัดการให้มีความถูกต้อง ทันสมัย และสามาระนำไปใช้งานได้ตามที่ต้องการ สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เช่นหากว่าเรามีข้อมูลตัวเลขต่างๆ และเมื่อนำตัวเลขเหล่านั้นไปทำการประมวลผลด้วยการ บวก ลบ คูณ หาร แล้ว ออกมาเป็นข้อสรุปของจำนวนต่างๆ นั้นก็ถือเป็นสารสรเทศด้วยเช่นกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศนั้น คือข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองแล้วก็เป็นได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ




ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
   1. ให้ความรู้
   2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
   4. สามารถประเมินค่าได้

กระบวนการทำงาน ( Procedure ) หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
3. เลือกรายการ
4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
5. รับเงิน
6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร

การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น

รับข้อมูลเข้า (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์

ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมคำสั่งที่กำหนดไว้

แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผล ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์

จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเก็ต

กระบวนการต่างๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเสมอเมื่อถึงเวลาที่มนุษย์จะต้องตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทำนองเดียวกัน  คอมพิวเตอร์ก็มีกระบวนการในการทำงานคล้ายๆ กับมนุษย์  แตกต่างกันตรงที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดหาเหตุผลเพื่อตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่คอมพิวเตอร์มีกระบวนการตัดสินใจได้ แต่ก็ต้องตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขที่มนุษย์กำหนดขึ้น สิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานที่เราเรียกว่า "โปรแกรม"