วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โครงสร้างระบบฐานข้อมูล


โครงสร้างระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลในปัจจุบัน จะนิยมใช้ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ (Relational Database) โครงสร้างพื้นฐานของฐานข้อมูลประเภทนี้จะมีดังต่อไปนี้

ตาราง(Table)

จะเป็นที่เก็บข้อมูลของฐานข้อมูล จะมีลักษณะเป็นตาราง 2 มิติ โดยจะถือว่าข้อมูลในแนวนอน(แถว)เป็นข้อมูลหนึ่งชุด เรียกว่าเรคคอร์ด (Record) ซึ่งข้อมูลในแต่ละชุดจะประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ ตามแนวตั้ง(คอลัมน์) ซึ่ง เรียกว่า ฟิลด์ (Filed)

 

จากรูปที่ เป็นตัวอย่างตารางเก็บข้อมูลสินค้า โดยสินค้าแต่ละชนิดจะถือว่าเป็นหนึ่งเรคคอร์ด ในแต่ละเรคคอร์ดจะมีข้อมูลชนิดต่างๆ (ฟิลด์ต่างๆ) บรรจุอยู่ ซึ่งในหนึ่งฐานข้อมูลก็จะประกอบด้วยตารางตั้งแต่หนึ่งตารางขึ้นไป

อินเด็กซ์ (Index)

อินเด็กซ์ จะเป็นฟิลด์ที่ใช้ช่วยในการค้นหาข้อมูล การทำงานของฟิลด์ที่เป็นอินเด็กซ์ก็คือ จะมีการจัดเรียงลำดับ โดยอัตโนมัติโดยอาศัยฟิลด์อินเด็กซ์เป็นตัวอ้างอิง การที่มีอินเด็กซ์ก็หมายความว่า ข้อมูลได้มีการจัดเรียงไว้แล้ว ยกตัวอย่างเช่นสมุดโทรศัพท์ ถ้าเราต้องการต้องการหาชื่อคนที่ขึ้นต้นด้วยตัว อ.อ่าง เราก็สามารถไปเปิดค้นได้จากบริเวณท้ายเล่มได้เลย โดยไม่ต้องดูไปทีละหน้าว่ามีชื่อที่ขึ้นต้นด้วย อ.อ่างอยู่หรือไม่

ไพรมารี่ย์คีย์ (Primary Key)

ไพรมารี่ย์คีย์จะเป็นฟิลด์ที่สามารถเป็นตัวแทนเรคคอร์ดทั้งหมด ค่าไพรมารี่ย์คีย์จะต้องไม่ซ้ำกัน เมื่อระบุค่าไพรมารี่ย์คีย์แล้ว จะต้องสามารถอ้างอิงถึงฟิลด์อื่นๆได้เลย ยกตัวอย่างเช่น จากรูปที่1 เมื่อเราระบุสินค้ารหัส 0001 ก็จะหมายถึง พัดลมที่ราคา900 บาทได้เลย

การเก็บข้อมูลแบบสร้างความสัมพันธ์

ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์จะมีจุดเด่นที่ พยายามแยกข้อมูลออกมาเป็นชุดๆ (เป็นตารางอิสระ) แล้วจึงกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง(ข้อมูล)ขึ้น เพื่อเก็บข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้น การจัดเก็บลักษณะนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล  และจะช่วยให้การแก้ไขเป็นไปอย่างสะดวกและลดความผิดพลาด










จากรูปที่ จะเห็นได้ว่า ได้แยกข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสินค้าเป็นอย่างละหนึ่งตาราง แล้วจึงเก็บข้อมูลการสั่งซื้อโดยสร้างเป็นตารางความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับสินค้าขึ้น ซึ่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิงในตารางความสัมพันธ์นั้นก็คือไพรมารี่ย์คีย์นั่นเอง


เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่ารูปบน กับ รูปล่าง จะเห็นได้ว่า ในรูปที่ล่างนั้น ข้อมูลมีความซ้ำซ้อนกัน ยกตัวอย่างเช่นการสั่งพัดลมก็จะต้องเก็บชื่อสินค้าและราคาซ้ำกันสองที่ ซึ่งที่จริงแล้วสามารถจำแนกได้จากรหัสสินค้าได้โดยตรง นอกจากนั้นแล้ว ถ้าจะมีการแก้ชื่อจากพัดลม เป็นพัดลมตั้งโต๊ะ ก็จำเป็นจะต้องแก้ในทุกรายการที่เป็นพัดลมในตารางการสั่งซื้อในรูปล่าง ซึ่งถ้าเป็นการเก็บข้อมูลแบบใช้ความสัมพันธ์ ก็เพียงแก้เฉพาะชื่อสินค้าในตารางสินค้าเพียงแห่งเดียวเท่านั้น


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น