ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้
ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน
ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
บทบาทและเป้าหมายของระบบปฏิบัติการ (Goals & Roles of an OS)
• อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ใช้ (user) ใช้เครื่องฯ ได้ง่าย (Operating System Objectives Convenience) ทำให้คอมฯ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
• ใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จัดการการใช้ทรัพยากรของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• เพิ่มความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรม (Ability to evolve) เพื่อรองรับให้ผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ, สามารถทดสอบโปรแกรม, และสามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ โดยปราศจากการแทรกแซงของระบบปฏิบัติการในระหว่างการทำงาน
ระบบปฏิบัติการที่เราคุ้นเคยบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, Notebook, Tablet, Smartphone ก็มี Linux, MICROSOFT Windows, APPLE Mac OS X, APPLE iOS, GOOGLE Android, และ NOKIA Symbian เป็นต้น
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์บนเครื่องขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็มีวินโดวส์ ลินุกซ์ ยูนิกซ์ และระบบปฏิบัติการบนเครื่องเมนเฟรม เป็นต้น
มักจะมีคำถามว่าถ้าเราจะซื้อเครื่องโน๊ตบุ๊คใหม่ควรใช้ระบบปฏิบัติการอะไรดีระหว่าง Windows Vista, Windows 7, Windows 2008, Windows8, Mac OS X หรือ Linux ค่ายไหนดี และจะใช้แบบพื้นฐานที่มีให้มาพร้อมเครื่องหรือต้อง Upgrade เป็นระดับ Premium ดี ซึ่งต้องจ่ายเพิ่มอีก เป็นต้น เราจะได้คำตอบมากมายไม่เหมือนกัน ปกติเราต้องสำรวจตัวเราเองก่อนว่าเราจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำอะไรบ้าง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ใช้งานอินเตอร์เน็ต รับส่งอีเมล์ ตัดต่อภาพถ่ายหรือวีดีโอ เล่นเกม ใช้โปรแกรมสเปรตชีต เขียนโปรแกรมใช้งาน ใช้ฐานข้อมูล สำรองข้อมูล ทดสอบโปรแกรมก่อนนำไปใช้งาน ถูกโจมตีโดยไวรัสได้ง่ายหรือไม่ ประสิทธิภาพสูงไหม น้ำหนักและขนาดของเครื่องสำคัญไหม เท่มั๊ย อินเทรนด์รึเปล่า เป็นต้น เมื่อได้วัตถุประสงค์แล้วก็เปรียบเทียบยี่ห้อ รุ่น ราคา การรับประกัน การบริการหลังการขาย และปรึกษาผู้รู้ เพื่อนฝูง ค้นหาในอินเตอร์เน็ต หรือพนักงานขาย สุดท้ายเราก็จะเลือกระบบปฏิบัติการและเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ได้ตรงตามความต้องการ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors Programs เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์
• หน้าที่หลัก ๆ ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ มีดังนี้
1) การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2) การจัดตารางงาน (Scheduling)
3) การติดตามผลของระบบ (Monitoring)
4) การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multiprogramming)
5) การจัดแบ่งเวลา (Time Sharing)
6) การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน (Multiprocessing)
• ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
1) โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่
a. Supervisor การจัดการทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ จะอยู่ภายใต้ความควบคุมของ Supervisor ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำหลักในซีพียูและทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนอื่นๆ ของโปรแกรมควบคุมระบบ เมื่อใดที่โปรแกรมภายใต้ระบบปฏิบัติการถูกเรียกมาใช้งาน Supervisor จะส่งการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น เมื่อการทำงานสิ้นสุดลง โปรแกรมดังกล่าวจะส่งการควบคุมกลับมายัง Supervisor อีกครั้ง
b. โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่นๆ (Other Job/Resource Control Programs) ได้แก่ โปรแกรมที่ควบคุมเกี่ยวกับลำดับงาน ความผิดพลาดที่ทำให้การหยุดชะงักของโปรแกรม (Interrupt) หรือพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทราบเมื่อมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแจ้งให้ทราบถึงสถานภาพของอุปกรณ์รับส่ง เป็นต้น
2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมีลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS – DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่
a.
MS – DOS (Microsoft Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microprocessor รุ่น 8086, 8088, 80286, 80386, 80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ทั่วไป มี 2 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ PC-DOS และ MS-DOS ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง (Command – line User Interface) MS – DOS นั้นจะมีส่วนประกอบโปรแกรม 3 ส่วน คือ IO.SYS MS – DOS.SYS และ COMMAND.COM ทั้ง 3 โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ สำหรับ MS – DOS.SYS และ IO.SYS นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน
IO.SYS เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ป้อนเข้า (Input Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
MS – DOS.SYS เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึง (Access) โปรแกรมย่อย (Routine) ต่าง ๆ ของดอส เมื่อโปรแกรมมีการเรียกใช้รูทีนเหล่านั้น ตัว MS – DOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านจากรีจิสเตอร์ทำการควบคุมการทำงาน (Control Block) และจัดพารามิเตอร์ในการเรียกใช้ IO.SYS ให้ทำงานตามที่ต้องการ
COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน คอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งผ่านคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมผู้ใช้กับโปรแกรมจัดระบบ
คำสั่งในระบบ MS – DOS จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ เช่น คำสั่ง DIR (Directory) เป็นการเรียกข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ขึ้นมาดูเพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูล คำสั่ง COPY เป็นการสำรองข้อมูลไว้ REN (Rename) เป็นการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลโดยที่ข้อมูลภายในยังคงเหมือนเดิม คำสั่ง TYPE เป็นการเรียกดูรายละเอียดของข้อมูลแต่ละแฟ้มขึ้นมาดู แต่แฟ้มนั้นจะต้องอยู่ในรูปของข้อความ (Text File) และคำสั่ง CLS (Clear) เป็นคำสั่งลบข้อความบนจอภาพ โดยที่ข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มจะไม่หาย เป็นต้น
- คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่างๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้ เช่น คำสั่ง CHKDSK (Check Disk) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยเก็บข้อมูลสำรองว่ามีพื้นที่ในการเก็บเท่าใด ใช้ไปเท่าใด คงเหลือเท่าใด และมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเสียหรือไม่
คำสั่ง FORMAT เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างภายในแผ่นหรือจานแผ่นเหล็ก เป็นการวิเคราะห์แผ่นจานแม่เหล็กสำหรับตำแหน่ง (Track) ที่เสีย
b.
Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ.1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็กๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้ Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ขึ้นมามี 3 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11
c.
Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ.1995 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network) Windows 95 มีคุณลักษณะเด่น ดังนี้
- มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก (Graphical User Interface :GUI)
- มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์ และสามารถใช้โปรแกรมหลายโปรแกรมในเวลาเดียวกัน
- มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า Word Pad โปรแกรมวาดรูป และเกม
- เริ่มมีเทคโนโลยี Plug and Play และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยติดตั้ง Windows 95 ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่ MS-DOS ก่อน แต่สามารถใช้งานร่วมกับ MS-DOS ได้
- สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน Windows 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รันบน Windows 95 มีความสามารถส่ง Fax และ E – mail ได้
d.
Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่างๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ
e.
Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้นๆ ว่า “Windows ME” ในเวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น
f.
Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้ายกับ Windows 95 พัฒนามาจาก LAN Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation
คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT มีดังนี้
- สามารถใช้กับตัวประมวลผล (Processor) ได้หลายแบบ ทั้ง Pentium, DEC และ Alpha โดยย้ายรูปแบบโปรแกรมข้ามระบบได้
- สามารถเพิ่มขยายหน่วยความจำได้ถึง 4 จิกกะไบต์ (4 GB)
- ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกันและสามารถเปลี่ยนแปลงรายการแบบพหุคูณหรือหลายรายการพร้อมกัน (Multithreading)
- สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์
- สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ NTFS ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ FAT (File Allocation Table) เพียงอย่างเดียว
- สามารถสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีจานแม่เหล็กหลายตัวต่อเป็นชุด ซึ่งเรียกว่า RAID (Redundant Aray of Inerpenside Disks)
- มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน และสามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน
- โปรแกรมที่ใช้ระบบ DOS ก็สามารถจะนำมาใช้งานบน Windows NT ได้
g.
Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการพัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language
h.
Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ
ทำงานร่วมกับ Internet Explorer 6 และ Microsoft Web Browser Windows XP มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ Windows XP Home Edition และ Windows XP Professional Edition
i.
Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)
j.
OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกแต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย
k.
UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงานหลายๆ โปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น (Workstation) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ UNIX สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี User ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัว ไปพร้อมๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลทฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บน DOS หรือ Windows มาใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ได้ นอกจากนี้ยังมียูทิลิตี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UNIX อีกด้วย
l.
LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน จากปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ตั้งทีมออกแบบพัฒนาให้ใช้งานภาษาไทยและสามารถนำมาใช้งานแทน Windows ได้ ให้ชื่อว่า Linux TLE (Thai Language Extension) หรือ ลินุกซ์ทะเล และเป็นการพัฒนาโดยคนไทยซึ่งต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์กลางที่มีภาษาไทยเสริม ภายใต้มาตรฐานสากล TLE จึงเป็นตัวแทนของจุดประสงค์ของการพัฒนา และแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สอดคล้องกับที่มาและสามารถเข้าใจได้ในเวทีสากล ลินุกซ์ทะเลได้พัฒนาระบบภาษาไทยให้ใช้งานได้ดีถึง 100% มีระบบการตัดคำที่อ้างอิงจากดิกชันนารี เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยประเภทบิตแมปอีก 20 ฟอนต์ รวมทั้งฟอนต์แบบ True – Type สนับสนุนมาตรฐาน TIS620 เป็นฟอนต์ไทยซึ่งทาง NECTEC ได้จดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
m.
Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce
n.
Windows 7 เป็นระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เผยแพร่เชิงพาณิชย์ในเดือนตุลาคม 2552 ในการพัฒนา Windows 7 รู้จักในชื่อรหัส “Blackcomb” และ “Vienna” ได้รับการสร้างบนเคอร์เนล Vista ต่อผู้ใช้สุดท้ายจำนวนมาก การเปลี่ยนใหญ่ที่สุดระหว่าง Vista และ Windows 7 เร็วกว่าในเวลาบู๊ต การอินเตอร์เฟซผู้ใช้ใหม่และนอกเหนือจาก Internet Explorer 8 ระบบปฏิบัติการนี้มีให้อย่างกว้างขวางในสามรุ่นค้าปลีกคือ Windows 7 Home Premium, Professional และ Ultimate นอกจากนี้ ในบางตลาดมีรุ่น Starter, OEM และ Enterprise
o.
Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์รุ่นล่าสุด เริ่มพัฒนาก่อน Windows 7 ในปี 2009 ประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2011 Windows 8 ปล่อยออกมา 3 เวอร์ชันอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2554 ถึงเดือนพฤษภาคม 2555 ส่งไปยังผู้ผลิตในวันที่ 1 สิงหาคม 2555 และเปิดให้ใช้งานโดยกลุ่มผู้ใช้ทั่วไปในวันที่ 26 ตุลาคม 2555
Windows 8 ปรับเปลี่ยนโดยเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเช่น แท็บเล็ต เพื่อเป็นคู่แข่งกับระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาอื่น ๆ เช่น ไอโอเอสและแอนดรอยด์ และได้ปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (UI) ทีมีชื่อว่า Modern UI มีหน้าตาที่เรียบง่าย และสะดวกต่อการใช้งาน มีการอัปเดตแอปต่าง ๆ ตลอดเวลาด้วยระบบ Live Tiles และยังผนวกโปรแกรมป้องกันไวรัสเข้ามากับระบบปฏิบัติการโดยตรง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปซื้อโปรแกรมป้องกันไวรัสเพิ่มเติม
p.
Apple iOS ระบบปฏิบัติการ iOS พัฒนาโดย APPLE Inc. เพื่อใช้กับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) ของ APPLE Inc. เช่น iPhone, iPadและ iPod เป็นต้น
q.
GOOGLE Android เป็นระบบปฏิบัติการเปิดที่พัฒนาโดย GOOGLEด้วยเทคโนโลยีที่ GOOGLEอ้างว่าทำงานเหมือนแต่ไม่ใช่ ORACLE Java Technology โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้กับอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smartphone) เนื่องจาก Android เป็นระบบปฏิบัติการเปิดจึงทำให้มีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ขึ้นมามากมายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำให้ผู้ใช้งานมีทางเลือกมากและราคาไม่แพง
3) ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้
a. ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand – alone
เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค ที่ทำงานโดยไม่มี
การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือหากมีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น LAN หรือ Internet ก็จะเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า “Client Operating System” ได้แก่ MS – DOS, MS – Windows ME, Windows server 2000, Windows XP, Windows NT, Windows server 2003, UNIX, LINUX, Mac OS, OS/2 Warp Client
b. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System)
เป็นระบบปฏิบัติการที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ จัดเก็บไว้บนชิพ ROM ของเครื่องมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ใช้หน่วยความจำน้อยและสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้ สไตล์ลัส (Stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ตัวระบบปฏิบัติการจะมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand Writing Recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้องพบได้ในคอมพิวเตอร์แบบ Hand Held เช่น Palm Top, Pocket PC เป็นต้น ระบบปฏิบัติการชนิดนี้ได้รับความนิยม คือ Windows CE, Pocket PC 2002 และ Palm OS เป็นต้น
c. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS)
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลแอนด์ เช่น การประมวลผล และการติดต่อกับผู้ใช้
d. ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม กันจำนวนหลายๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลายๆ คน (Multi - User) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน
e. ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System)
สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่างๆ กันได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น
4) การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Selecting a Microcomputer Operating System) เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะตัวประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การและงบประมาณที่มี
4.2.1.2 โปรแกรมภาษา (Language Software)
โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานนั้นถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่เรียกว่า “ภาษาคอมพิวเตอร์” ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) จะต้องเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ของคำสั่ง และวิธีการเขียนโปรแกรมของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้เขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีอยู่มากมายหลายภาษา เช่น Basic, C, C++, Java เป็นต้น
• โปรแกรมภาษาสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
1) ภาษาเครื่อง (Machine Language)
เป็นภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยมีโครงสร้างและพื้นฐานเป็นเลขฐาน 2 และตัวสตริง (Strings) ซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ในทันที ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษา คำสั่งของภาษาเครื่องนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
a. ส่วนที่บอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code)
เป็นส่วนที่จะบอกให้เครื่องประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ เป็นต้น
b. ส่วนที่บอกตำแหน่งของข้อมูล (Operand)
เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึงตำแหน่งหน่วยของข้อมูลที่จะนำมาคำนวณว่าอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ
2) ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Language)
ได้ปรับปรุงให้ง่ายขึ้นโดยสร้างรหัส (Mnemonic Code) และสัญลักษณ์ (Symbol) แทนตัวเลขซึ่งเรียกชื่อภาษาว่า ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ ลักษณะโครงสร้างของภาษาสัญลักษณ์จะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากคือ ประกอบด้วย 2 ส่วนที่เรียกว่า Op – Code และ Operands โดยใช้อักษรที่มีความหมายและเข้าใจง่ายแทนตัวเลข
3) ภาษาระดับสูง (High – Level Language)
เนื่องจากภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ยังคงยากต่อการเข้าใจของมนุษย์ ประกอบกับความเจริญทางด้านซอฟต์แวร์มีมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาให้เป็นคำสั่งที่มีความหมายเหมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้กัน เพื่อให้สะดวกกับผู้เขียนโปรแกรม เช่น ใช้คำว่า PRINT หรือ WRITE แทนการสั่งพิมพ์ หรือแสดงคำว่าใช้คำว่า READ แทนการรับค่าข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ภาษาระดับสูง ตัวอย่างเช่น Visual Basic, C, C++, Java เป็นต้น
• คอมไพเลอร์ (Compiler)
เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูงตามลำดับของชุดคำสั่งและข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติการได้
• อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง และปฏิบัติการตามคำสั่งโดยตรงจากโปรแกรมต้นฉบับทันที จะแปลคำสั่งครั้งละหนึ่งคำสั่ง แล้วประมวลผลในทันที หลังจากนั้น จะรับคำสั่งถัดไปเพื่อแปลเป็นภาษาเครื่อง แล้วประมวลผลทันที เช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะจบโปรแกรม หรือพบที่ผิดพลาดทางไวยากรณ์ในคำสั่งที่รับมาแปล
• ยุคของภาษาคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 1 (First Generation Language : 1GL)เป็นภาษาระดับต่ำ (Low – Level Language) ประกอบด้วยเลขฐานสอง ได้แก่ 0 และ 1 หรือเรียกว่า “ภาษาเครื่อง (Machine Language)”
ยุคที่ 2 (Second Generation Language : 2GL)
ได้มีผู้พัฒนาให้มีการใช้สัญลักษณ์แทนตัวเลขฐานสอง เรียกว่า “ภาษาสัญลักษณ์ (Symbol Language)” คือ ภาษาอังกฤษ จะเป็นคำสั่งสั้นๆ ที่จำได้ง่าย เรียกว่า “นิวมอนิกโค้ด (Nemonic Code)” ทำให้นักเขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างภาษาสัญลักษณ์ ได้แก่ ภาษา Assembly และเนื่องจากเป็นภาษาสัญลักษณ์ จึงต้องใช้ตัวแปลภาษา เพื่อทำให้เป็นภาษาเครื่องก่อน ด้วยตัวแปลภาษาที่เรียกว่า “Assembler”
ยุคที่ 3 (Third Generation Language : 3GL)
ภาษาสัญลักษณ์ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถแทนตัวเลขฐานสองได้เป็นคำ ทำให้กลายเป็นภาษาที่มีไวยากรณ์ที่เข้าใจและเขียนได้ง่ายขึ้น คำสั่งสั้นและกระชับมากขึ้น เช่น ภาษา BASIC, COBOL, Pascal
ยุคที่ 4 (Fourth Generation Language : 4GL)
ได้มีการพัฒนารูปแบบการเขียนโปรแกรมจากยุคที่ 3 ที่จัดว่าเป็นการเขียนแบบ Procedural ให้กลายเป็นการเขียนแบบ Non – Procedural ที่สามารถกระโดดไปทำคำสั่งใดก่อนก็ได้ตามที่โปรแกรมเขียนไว้ นอกจากนี้ จุดเด่นของภาษาในยุคนี้เริ่มจากการเขียนคำสั่งให้ผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลได้และพัฒนาต่อมากลายเป็นการเขียนคำสั่งให้ได้โปรแกรมที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกมากขึ้น และพัฒนาจนมาถึงการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object – Oriented Programming) เช่น ภาษา C++, Visual C++, Delphi, Visual Basic เป็นต้น ปัจจุบันมีภาษาที่ใช้หลักการของโปรแกรมเชิงวัตถุที่นิยมใช้ เช่น ภาษา Java
ยุคที่ 5 (Fifth Generation Language : 5GL)
เป็นภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ภาษาในยุคที่ 5 เรียกว่า “ภาษาธรรมชาติ (Natural Language)” คือ ไม่ต้องสนใจถึงคำสั่งหรือลำดับของข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ใช้เพียงแต่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นคำหรือประโยคตามที่ผู้ใช้เข้าใจ คอมพิวเตอร์จะพยายามแปลคำหรือประโยคเหล่านั้นเพื่อทำตามคำสั่ง แต่ถ้าไม่สามารถแปลให้เข้าใจได้ ก็จะมีคำถามกลับมาถามผู้ใช้เพื่อยืนยันความถูกต้อง